วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

แนวปะการัง

ความสำคัญของแนวปะการัง
ประเภทของแนวปะการัง
สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
ชีววิทยาของปะการัง
แนวปะการังที่สำคัญของประเทศไทย
สภาวะความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
สาเหตุความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การฟื้นฟูแนวปะการัง
ข้อควรพิจารณาในการฟื้นฟูแนวปะการัง

ประเภทของแนวปะการัง

แนวปะการังแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ

  1. แนวปะการังแบบหย่อม (Fringing reef) เป็นแนวปะการังน้ำตื้น อยู่ใกล้ชายฝั่งหรือรอบเกาะแก่ง บางแห่งอาจมีลักษณะลาดชันติดทะเลลึก และบางแห่งเป็นพื้นราบในเขตน้ำตื้น เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลง ปะการังจะโผล่พ้นน้ำ และได้รับแสงแดดมาก หรือเมื่อฝนตก ความเค็มของน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงไป สภาวะแวดล้อมของแนวปะการังลักษณะนี้ จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของปะการังได้ แนวปะการังแบบหย่อม พบกระจายอยู่ทั่วไปแถบมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวปะการังแบบหย่อมอยู่ถึง 30% ของแนวปะการังแบบนี้ทั่วโลกรวมกัน แนวปะการังที่พบในน่านน้ำไทย ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันเป็นแนวปะการังแบบหย่อมทั้งหมด


  2. แนวปะการังแบบกำแพง (Barrier reef) เป็นแนวปะการังที่อยู่ห่างชายฝั่งออกไป ระหว่างแนวปะการังกับฝั่งจึงเป็นร่องน้ำ หรือทะเลเช่นเดียวกับบริเวณอื่น อาจอยู่ห่างฝั่งหลายกิโลเมตร หรืออยู่กลางมหาสมุทร ตัวอย่างของแนวปะการังแบบกำแพงที่ใหญ่ที่สุดคือ Great Barrier Reef บริเวณชายฝั่งของทวีปออสเตรเลีย ซึ่งมีความยาวถึง 1,370 ไมล์
  3. แนวปะการังแบบวงแหวนหรือเกือกม้า (Atoll) เป็นแนวปะการังที่พบอยู่กลางทะเลหรือมหาสมุทร รูปร่างคล้ายวงแหวน มีทะเลสาบน้ำเค็มอยู่ตรงกลาง บางบริเวณของแนวอาจโผล่พ้นน้ำเป็นเกาะ หรือมีแนวชายหาดที่ขาวสะอาด เพราะเป็นทรายที่เกิดจากการสลายตัวของโครงสร้างปะการังโดยตรง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย