วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

แนวปะการัง

ความสำคัญของแนวปะการัง
ประเภทของแนวปะการัง
สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
ชีววิทยาของปะการัง
แนวปะการังที่สำคัญของประเทศไทย
สภาวะความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
สาเหตุความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การฟื้นฟูแนวปะการัง
ข้อควรพิจารณาในการฟื้นฟูแนวปะการัง

แนวปะการังที่สำคัญของประเทศไทย

แนวปะการังของบ้านเราส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณหมู่เกาะต่างๆ โดยจะแบ่งออกเป็นหมู่เกาะทางฝั่งอ่าวไทย และทางฝั่งอันดามัน ตัวอย่างของหมู่เกาะที่มีแนวปะการังได้แก่

หมู่เกาะทางฝั่งอ่าวไทย

1. หมู่เกาะอ่างทอง

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทย ครอบคลุมพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 84ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 82 ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบด้วย เกาะต่าง ๆ 42 เกาะได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะไผ่ลวก ฯลฯ จุดสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 396 เมตร หมู่เกาะอ่างทอง ส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูนสูงชัน (Towerlike Limestone) ซึ่งเป็นแนวหน้าผาสูงชันตั้งดิ่งขึ้นจากพื้นน้ำทะเล การก่อกำเนิดของเขาหินปูนนี้มีพร้อมกับการผุพังสลายตัวของหินปูนรวมถึงการผุกร่อนโดยสภาพธรรมชาติ โดยเฉพาะจากน้ำใต้ดิน ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้พบถ้ำขนาดใหญ่และโพรงหินทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตากเกาะต่าง ๆ ภายในถ้ำยังปรากฏเป็นหินงอกหินย้อย บางแห่งมีลำธารไหลผ่านภายในและบางแห่งเกิดเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ซึ่งมีอยู่ 3 แห่งได้แก่ บนเกาะวัวตาหลับ 2 แห่ง และบนเกาะแม่เกาะอีก 1 แห่งซึ่งบนเกาะแม่เกาะนี้เป็นทะเลสาบที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดของอุทยานแห่งชาติมีชื่อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า "ทะเลใน" มีลักษณะเป็นพื้นน้ำที่อยู่ภายในวงล้อมของหน้าผาสูงชัน คล้ายปล่องภูเขาไฟ มีขนาดความกว้างประมาณ 200 เมตร ยาว 250 เมตร ลึกประมาณ 20 เมตร ซึ่งการกำเนิดของทะเลสาบน้ำเค็มนี้ยังไม่พบหลักฐาน แน่ชัด แต่ได้มีการสันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของหินชั้นล่างทำให้เกิดบ่อยุบ (sink hole) ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับหมู่เกาะ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในกระบวนการเดียวกับการ เกิดถ้ำ

2. เกาะเต่า เกาะนางยวน

เกาะเต่า สถานที่ท่องเที่ยว และ แหล่งดำน้ำ ที่ สวยงาม แห่ง ท้องทะเล อ่าวไทย ที่พึ่งจะเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทย เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง แต่สำหรับ นักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศ แล้ว ชื่อของเกาะเต่ากล่าวได้ว่าเป็นสวรรค์ของการ ดำน้ำ ที่ นักดำน้ำ ทั่วโลกรู้จักดีในความงดงาม และความมีสีสันของโลกใต้ทะเล ที่ไม่แพ้ที่แห่งใดในโลกเกาะเต่า ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะเต่า และเกาะนางยวน พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นภูเขามีพื้นที่ราบอยู่เพียง 30% ของตัวเกาะ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 17.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,225 ไร่ กว้าง 3.4 กิโลเมตร ยาว 7.6 กิโลเมตร มีด้วยกัน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหาดทรายรี บ้านแม่หาด และ บ้านโฉลก บ้านเก่า และด้วยระยะห่างจาก ปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร ห่างจาก อ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี 120 กิโลเมตร และห่าง เกาะพะงัน ซึ่งถือเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ที่สุด 45 กิโลเมตร นั่นก็ทำให้ เกาะเต่ากลายเป็นเกาะกลางทะเลหลวงที่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยวโดยแท้ และอีกเกาะเล็กๆ ที่อยู่ทางทิศเหนือของเกาะเต่า นั่นคือ เกาะนางยวน ประกอบกันด้วย เกาะเล็กเกาะน้อย 3 เกาะ ที่เชื่อมต่อกันด้วยสันทรายสีขาว จนบางครั้งยามน้ำลง ก็สามารถเดินถึงกัน และกลายเป็น เกาะ เดียวต่อเนื่องกันไปได้ สภาพธรรมชาติ โดยรอบ ประกอบด้วย ดง ปะการัง อันอุดมสมบูรณ์อยู่ภายใต้ ท้องทะเล สีเขียว มรกต จึงนับเป็น แหล่งที่เหมาะกับ การเล่นน้ำ และ การดำน้ำ ดู ปะการัง เป็นอย่างยิ่ง

3. เกาะสมุย เกาะพะงัน

เกาะสมุย ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวไทย เป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่าง จากสุราษฎร์ธานีไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 84 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 247 ตารางกิโลเมตร กว้าง 21 กิโลเมตร ยาว 25 กิโลเมตร ถนนโดยรอบเกาะ (ถนนสายทวีราษฎร์ภักดี) ยาว 50 กิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 เป็นที่ราบล้อมส่วนที่เป็นภูเขาตรงกลางเกาะ แหล่งดูปะการัง อยู่บริเวณชายฝั่งของเกาะสมุย รวมทั้งที่อยู่ติดกับเกาะอื่นๆ เช่น เกาะเต้าปน เกาะส้ม เกาะมัดหลัง เกาะราเทียน และเกาะราหิน

เกาะพะงันเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งมีพื้นที่น้อยที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกในอ่าวไทยประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเกาะสมุย ประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะพะงันมีพื้นที่ 168 ตารางกิโลเมตร และเกาะเต่า 25 ตารางกิโลเมตร (รวม 193 ตารางกิโลเมตร)

4. เกาะกูด

เกาะกูด คือเกาะสุดท้ายสุดปลายทะเลตะวันออกแห่งน่านน้ำทะเลตราด ที่วันนี้ยังคง ความบริสุทธิ์สวยงามของธรรมชาติอยู่มาก เกาะกูดประกอบไปด้วย หมู่เกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย เช่น หมู่เกาะรัง และหมู่เกาะหมาก เกาะกูดมีลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ ทำให้เกิดเป็นอ่าวและชายหาดสวยๆ มากมาย ด้วยระยะทางที่ไกลจากฝั่งมาก จึงทำให้น้ำใสสะอาด สีสันสดสวยราวมรกต และยังมีแนวปะการังใต้ท้องทะเลให้ชม เกาะกูดจึงได้รับฉายาว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก" ที่มาของชื่อเกาะกูด มากจาลักษณะของแหลมทางทิศตะวันออกที่ยื่นออกมา โดยมีโค้งอ่าวยายเกิด และโค้งอ่าวกล้วยอยู่คนละด้านของแหลม แหลมนี้มีรูปร่างคล้ายกับหางเสือเรือ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตะกูด" จึงเป็นที่มาของ "เกาะ(ตะ)กูด" นั่นเอง

5. หมู่เกาะช้าง

เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ต มีเน้อที่ทั้งสิ้น 429 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแหลมงอบ จังหวัดตราด ห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวจากเหนือลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีผาสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุดได้แก่ เขาสลักเพชร ซึ่งสูง 744 เมตร รองลงไปได้แก่ เขาจอมประสาท และเขาหอม มีสภาพป่าสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบเขา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม้น้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะนี้ นอกจากนี้บริเวณรอบๆเกาะช้างยังมีเกาะน้อยใหญ่อยู่โดยรอบ ซึ่งแต่ละเกาะก็มีชายหาด ปะการังที่สวยงาม หมู่เกาะช้าง อยู่ห่างไกลจากปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ที่จะทำให้เกิดการทับถมของตะกอนโคลนเลน จึงทำให้หมู่เกาะเหล่านี้เต็มไปด้วยหาดทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใส และอุดมสมบูรณ์ ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปลาสวยงามในแนวปะการัง เป็นต้น



หมู่เกาะทางฝั่งอันดามัน

1. หมู่เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อยู่ในเขตจังหวัดพังงามีพื้นที่รวม 135 ตารางกิโลเมตร(ประมาณ 84,357 ไร่) ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ และกองหินโผล่พ้นน้ำ 2 แห่งได้แก่เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้เกาะปาจุมบา(เกาะกลาง) เกาะตอรินลา(เกาะไข่)เกาะ(เกาะสต็อร์ค)หินแพและหินกอง เป็นแนวปะการังรอบหมู่เกาะสุรินทร์มีลักษณะที่โดดเด่น และเป็นแนวปะการังที่กว้างที่สุด และโดดเด่นที่สุดในทะเลไทย อีกทั้งยังมีสรรพชีวิตใต้น้ำที่หลากหลาย จุดดำน้ำตื้น (Snorkelling) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือบริเวณอ่าวเต่า เป็นแนวปะการังแคบและหักชันลงในที่ลึก ผู้มาเยือนบริเวณนี้มีโอกาสเห็น ปะการัง หอยมือเสือ และปลาสวยงามหลากชนิด บางครั้งอาจพบเต่ากระเข้ามาหากินบริเวณนี้ หรือปลาใหญ่ว่ายเทียบแนวปะการัง ส่วนจุดอื่นๆ ก็จะมีเช่น อ่าวผักกาด หาดไม้งาม นอกจากนี้ยังมีจุดดำน้ำลึกแบบ Scuba จุดที่มีชื่อเสียงคือกองหินทางตอนใต้ห่างจากปลายเกาะสุรินทร์ใต้เพียง 20-100 เมตรความลึกเฉลี่ย 15-30 เมตร เป็นที่อาศัยของปะการังอ่อนน้ำลึกมีสีสันที่สวยงาม ไม่ผิดอะไรกับโลกใต้ทะเลที่สิมิลัน

2. หมู่เกาะพีพี

เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากจังหวัดกระบี่ 40 กม. และอยู่ระหว่างกลางเส้นทางเดินเรือ กระบี่-ภูเก็ต หมู่เกาะพีพีประกอบด้วย 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะบิด๊ะนอก เกาะบิด๊ะใน เกาะยุง และเกาะไผ่ ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่มีทัศนียภาพสวยงาม เต็มไปด้วยปะการัง และผูงปลามากมายมีพื้นที่เพียง 6.6 กม. เกาะพีพีเลเป็นเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับผิวทะเล โดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร โดยมีบริเวณน้ำลึกที่สุดประมาณ 34 เมตรอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา อ่าวโละซามะฯลฯ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีถ้ำไวกิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "ถ้ำพญานาค" ตามรูปร่างหินก้อน หนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านที่มาเก็บรังนกนางแอ่น บนเกาะแห่งนี้ ภาย ในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่างๆ เช่น เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือสำเภา เรือกำปั่น เรือใบใช้กังหัน และเรือกลไฟ เป็นต้น สันนิษฐานว่าภาพ เขียน เหล่านี้เป็นฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด เพราะจากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวัน ตกไปยังฝั่งตะวันออก บริเวณนี้อาจเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบลมมรสุมขนถ่ายสินค้าหรือซ่อมแซม เรือได้

3. เกาะตะรุเตา

เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และ ความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่งออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)

4. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

มีเนื้อที่ประมาณ 152 ตารางกิโลเมตร ในอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะลันตาน้อย เกาะตะเล็งเบ็ง และเกาะใกล้เคียง รวมไปถึงหมู่เกาะห้า หมู่เกาะรอก และเกาะไหง เกาะลันตาน้อย เป็นเกาะที่เป็นชุมชนของชาวเกาะลันตาในอดีตมาก่อน มีที่ว่าการอำเภอ มีโรงเรียนวิถีชีวิตแบบเก่า ๆ บ้านเรือนโบราณยังมีให้พบเห็น เกาะลันตาใหญ่ มีรูปร่างยาวเรียวจากเหนือมาใต้ ศูนย์กลางธุรกิจของเกาะอยู่ที่บริเวณท่าเรือศาลาด่านซึ่งมีทั้งบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธนาคาร ด้านตะวันตกเรียงรายไปด้วยชายหาดและอ่าวที่สวยงามมากมายได้แก่ หาดคอกวาง หาดโละบารา อ่าวพระแอะ หาดคลองโขง หาดคลองนิน และมีถนนตัดจากท่าเรือตอนเหนือผ่านชายหาดต่าง ๆ ไปจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาซึ่งอยู่ตอนใต้สุดของเกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่บนเกาะมีสภาพเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าที่สมบูรณ์ ส่วนด้านตะวันออกมีชุมชนเก่าของเกาะลันตาเนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอมาก่อน ซึ่งย้ายไปอยู่ที่เกาะลันตาน้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่บนเกาะลันตานับถือศาสนาอิสลาม และที่บ้านสังกะอู้ยังมีชนพื้นเมืองที่ยังคงยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ ประเพณีลอยเรือ ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานฯ มีจุดชมวิว แหลมโตนด ซึ่งเป็นที่ตั้งของประภาคาร จากมุมนี้สามารถมองเห็นโค้งอ่าวกรวดและอ่าวหาดทรายขาวสะอาดมาบรรจบกัน ตอนปลายสุดของแหลมเป็นที่ตั้งของเกาะหม้อ เป็นจุดดำดูปะการังน้ำลึก นอกจากจุดชมวิวแหลมโตนดแล้ว ยังมีจุดชมวิวบนยอดเขาบริเวณตอนกลางเกาะที่มีร้านอาหารสามารถนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับชมทิวทัศน์ของทะเลอันดามันที่มีเกาะต่าง ๆ อยู่ท่ามกลางผืนน้ำสีน้ำเงิน

5. หมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ตั้ง อยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทองอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ ที่หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด 9 เกาะเรียงตัวจากเหนือมาใต้ ได้แก่เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลันเกาะปายู เกาะเมี่ยง เกาะปาหยัน เกาะปายัง เกาะหูยง ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่เกาะเมี่ยง สิมิลันเป็นหมู่เกาะที่ มีความงามทั้งบนบก และใต้น้ำ มีชื่อเสียงมากในเรื่องของแหล่งดำน้ำ ภายในอุทยานแห่งนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง อาทิ เกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสิมิลัน อ่าวเป็นรูปโค้งเหมือนเกือกม้าน้ำลึกโดยเฉลี่ย 60 ฟุต ใต้ท้องทะเลอุดมไปด้วยกองหินและแนวปะการัง มีทั้งปะการังเขากวางและปะการังดอกเห็ดขนาด ใหญ่ หาดทรายละเอียดสวยงามมาก เหมาะสำหรับดำน้ำดูปลาและปะการัง ทางด้านเหนือของเกาะมีก้อน หินขนาดใหญ่ เช่น หินรูปรองเท้าบู๊ท ตอนบนที่ตรงกับแนวหาด มีหินรูปเรือใบ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ สิมิลันเลยก็ว่าได้ เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม

เกาะบางู หรือเกาะหัวกะโหลก เป็นเกาะอันดับที่ 7 ของหมู่เกาะสิมิลัน มีลักษณะแปลกมากเมื่อ มองดูจากมุมหนึ่ง จะเห็นรูปหัวกะโหลก สภาพใต้น้ำมีความสวยงามเหมือนหุบเขาใต้น้ำ

เกาะหูยง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาดและยาวมากที่สุดในเก้าเกาะ เมื่อถึงฤดูวางไข่ของเต่า คือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีร่องรอยของเต่าที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดมากมาย เกาะเมี่ยง เป็นเกาะขนาดใหญ่รองจากเกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่มีชายหาดสวยงาม มักมีนักท่องเที่ยวนิยมมาแวะ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย