ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
การใช้ช้างประกอบธุรกิจทำไม้ผิดกฎหมาย ช้างที่ถูกนำมาใช้ในธุรกิจที่ผิดกฎหมายนี้มักพบปัญหาต่างๆ ดังนี้
-
ช้างถูกทารุณกรรม เช่น การบังคับให้ทำงานหนัก การใช้ไฟเผาก้นช้างเพื่อกระตุ้นให้ช้างลากซุง การลงโทษช้างอย่างรุนแรง ช้างเหล่านี้ไม่ได้รับการพักผ่อน สุขภาพทรุดโทรม มีบาดแผลติดเชื้อ บางเชือกอาจมีปัญหาที่ตา น้ำตาไหลมาก หรือตาบอด
-
การให้ช้างกินยาแอมเฟตามีน หรือยาบ้า โดยการผสมในอาหารของช้าง เพื่อให้ช้างทำงานได้มากขึ้น เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ช้างก็เกิดอาการติดยา เมื่อไม่ได้รับยาจะมีอาการอาเจียน เบื่ออาหาร ง่วงซึม ไม่มีแรง และเกิดปัญหาที่ตับและไต ทำให้ช้างเสียชีวิตในที่สุด
-
การใช้ช้างตกมัน หรือช้างดุร้ายที่เคยฆ่าคนทำงาน เนื่องจากช้างตกมันจะมีกำลังมากกว่าปกติ ส่วนช้างที่เคยฆ่าคน ควาญช้างมักหนีการจับกุม หรือถูกช้างฆ่าตายไปแล้ว ราคาจะถูก ช้างกลุ่มนี้อาจฆ่าคนได้อีก ซึ่งมักใช้การแก้ปัญหาโดยการยิงทิ้ง
การใช้ช้างเดินเร่ร่อนในเมืองใหญ่
จากการปิดชายแดนไทย-กัมพูชา รายได้ของชาวกูยลดลง ประกอบกับภาวะการว่างงานในฤดูแล้ง แต่ยังมีภาระในการเลี้ยงดูช้างและครอบครัว จึงเริ่มมีการนำช้างเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อให้บริการลอดท้องช้าง ขายอาหารช้าง และรับบริจาคจากบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ทางกรุงเทพมหานครประกาศห้ามมิให้ช้างเหล่านี้เดินหารายได้ในเขตกรุงเทพฯ โดยการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน คือ ปรับไม่เกิน 500 บาท กลุ่มช้างเร่ร่อนจึงพากันเปลี่ยนไปหากินในพื้นที่ปริมณฑลรอบๆกรุงเทพฯและตามจังหวัดต่างๆ ทำให้เกิดปัญหากับช้าง คือ
-
อุบัติเหตุ ช้างถูกรถชน เนื่องจากผู้ขับขี่ยานพาหนะมองไม่เห็นช้างที่มักสัญจรบนท้องถนนในช่วงเวลากลางคืน หรือช้างตกท่อ เนื่องจากฝาท่อรับน้ำหนักของช้างไม่ไหว
-
มลพิษในเมือง มลพิษจากฝุ่นโลหะหนักในอากาศ อาจเกิดความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจของช้าง แสงจ้าและฝุ่นที่อบอวลอาจระคายเคืองตาซึ่งอาจเกิดแผลที่กระจกตา เกิดอาการติดเชื้อจนทำให้ช้างตาบอดได้ ส่วนมลพิษทางเสียงอาจทำให้ช้างตกใจวิ่งเตลิดไป ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าช้างตกมันและต้องจบชีวิตลงด้วยการวิสามัญฆาตกรรม
-
คุณภาพอาหาร อาหารที่ให้ช้างอาจเน่า หรือมีสารพิษปนเปื้อน เช่นยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหารของช้าง
-
พฤติกรรมของมนุษย์ บางครั้งการแสดงออกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดผลเสีย เช่น การเข้าไปทางด้านหลังของช้าง การยื่นอาหารแบบหลอกล่อ อาจนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตมนุษย์ได้
การใช้ช้างแสดงละครเร่
ปัญหาที่พบคือการลักลอบล่าช้างป่าเพื่อนำลูกช้างมาฝึกแสดง
ลูกช้างมักมีอายุน้อยและยังไม่หย่านม อาจเสียชีวิตระหว่างการขนส่ง
-
การฝึกลูกช้างในท่าฝืนธรรมชาติ เช่น หกสูง การไต่บนสะพานไม้แผ่นเดียว การยืนบนถัง ช้างอาจได้รับบาดเจ็บหรือพิการ หรือเสียชีวิตระหว่างการฝึก นอกจากนี้ช้างที่ผ่านการฝึกอย่างทารุณเมื่อโตขึ้นมักจะเป็นช้างที่ก้าวร้าว
การส่งช้างออกนอกประเทศ
การส่งช้างออกนอกประเทศส่วนใหญ่ให้เหตุผลเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรีต่อมิตรประเทศ
ระหว่างประมุขของประเทศ ระหว่างรัฐบาล หรือระหว่างสวนสัตว์
ซึ่งจำนวนช้างที่ส่งออกไปเพื่อภารกิจดังกล่าวแม้มีจำนวนน้อยมาก
แต่ข้อที่น่าสังเกตและควรให้ความสำคัญ คือ
ช้างที่ถูกส่งออกไปนอกประเทศล้วนแล้วแต่เป็นช้างที่มีลักษณะดี
ทั้งร่างกายและอุปนิสัย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการลดประชากรช้างที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันการจัดการช้างบ้านยังขาดแคลนบุคลากร และงบประมาณ
ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือการขาดข้อมูลพื้นฐาน สำหรับวางแผนงานการจัดทำแผนแม่บท
และการประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญของช้าง