ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์
ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม
ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้
การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง
ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู
ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ
ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย
ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา
เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า
พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า
เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า
เจ้าพระยาปราบไตรจักร
และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน
ช้างไทยในพระราชพิธี
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
โดยในประเพณี หรือ
พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล
ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี
ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล
การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ
เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3
ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์
ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่
5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4
แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์
ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น
2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่
ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน
ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา
จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี
งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร
ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ
-
ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์
-
ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี
-
ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี