ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ช้าง
(Elephant)

ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม

ประเภทและสายพันธุ์

         ปัจจุบันนี้เราแบ่งช้างออก 2 ชนิด คือ ช้างเอเชียชนิดหนึ่ง และช้าง แอฟริกาชนิดหนึ่ง ช้างเอเชียเป็น ช้างที่อยู่ในทวีปเอเชีย เช่น ในประเทศไทย พม่า อินเดีย ศรีลังกา เขมร ลาว ญวน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนช้างแอฟริกามีอยู่ในทวีปแอฟริกา แม้ว่าช้างสองชนิดนี้จะมี รูปร่างลักษณะภายนอกคล้าย ๆ กันก็ตาม แต่อยู่คนละสกุลกัน เช่นเดียว กับวัว ซึ่งอยู่คนละสกุลกับควาย

ดังนั้นการที่เราจะเอา ช้างเอเชียกับช้างแอฟริกามาผสม พันธุ์กันให้เกิดลูกหลานต่อไป จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ข้อแตก ต่างของช้างเอเชียและช้างแอฟริกา เท่าที่พอจะสังเกตจากอุปนิสัย และลักษณะภายนอกมีดังนี้

ช้างเอเชีย (Elephas maximus)
ช้างเอ เชียที่สมบูรณ์เต็มที่ จะมีความ สูงเฉลี่ยวัดจากพื้นดิน ตรงขาหน้า ถึงไหล่ประมาณ 3 เมตร มีงาเฉพาะช้าง ตัวผู้หรือที่เรียกกันว่า ช้าง พลาย ส่วนช้างตัวเมียหรือช้างพังโดย ปกติไม่มีงา บางครั้งอาจจะพบ ช้างพังมีงาสั้น ๆ บ้าง แต่งานั้นจะไม่สมบูรณ์และเรียกกันว่า "ขนาย" สำหรับช้างตัวผู้ที่ไม่มีงาก็ มีบ้าง แต่เป็นจำนวนน้อย เราเรียก ช้างพลายที่ไม่มีงาว่า "ช้างสีดอ"

หัวของช้างเอเชียเป็นโหนก เมื่อ มองดูข้างหน้าจะเห็นเป็น 2 ลอน มีใบหูเป็นแผ่นกว้าง ขอบหูด้านบน อยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับศีรษะ ปลายงวงของช้างเอเชียมีจะงอยเพียง จะงอยเดียว เล็บเท้าหลังมีระหว่าง 4 - 5 เล็บ และช้างเอเชียมีหลังโค้งเหมือนหลังกุ้ง

ช้างเอเชียเป็นสัตว์ที่ชอบ อากาศชุ่มชื้นและร่มเย็น ไม่ชอบแสง แดดจัด และเป็นสัตว์ที่กะโหลกศีรษะ ใหญ่ มันสมองจึงใหญ่ตามขนาดกะโหลก ศีรษะไปด้วย เนื่องจากช้างเอเชีย มีมันสมองใหญ่นี่เอง จึงทำให้ ช้างเอเชียมีความเฉลียวฉลาด สามารถนำ ฝึกให้ใช้ทำงานป่าไม้ หรือใช้ แสดงละครสัตว์ได้ ช้างของไทยก็อยู่ ในจำพวกช้างเอเชียด้วย

ช้างเอเซียจำแนกได้ 3 ชนิดย่อย (subspecies) ได้แก่

ช้างเอเซียพันธุ์ศรีลังกา ( Elephas maximus maximus Linn )
เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาช้างเอเซียทั้งหมด ตัวผู้หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็น ช้างสีดอ (mukna) คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ยาวไม่พ้นปากหรืออาจยาวพ้นปากเพียงเล็กน้อย มีน้อยตัวที่มีงา ส่วนตัวเมียหรือช้างพังมีลักษณะเหมือนกับช้างเอเซียพันธุ์อื่นๆ คือไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น



ช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย ( Elephas maximus indicus Cuvier )
เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติบนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเซีย ได้แก่ ประเทศเนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา แคว้นยูนนาน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ช้างในประเทศไทยยังมีลักษณะที่น่าสังเกตุอีก ดังนี้ คือ

  • หนังมีขนเส้นห่างๆ ปลายหางมีขนเส็นยาวๆ งอกเป็นแนวด้านหน้าและด้านหลังของปลายหาง (ราว 2-3 นิ้ว) ขนหางยาวราว 7-8 นิ้ว โค้งไปจรดกันตรงปลาย

  • ลายฟันหน้า มักมีจำนวนตามลำดับชุดของกรามดังนี้ คือ 4, 8, 12, 16, 24 แต่อาจมากน้อยกว่านี้บ้างในบางราย

  • ช้างตัวผู้บางตัวมีงา เรียกว่าช้างพลาย ถ้างาใหญ่ เรียกว่า ช้างงาปลี ถ้างาเล็ก ยาวเรียว เรียกว่า ช้างงาเครือ ตัวผู้ที่ไม่มีงา เรียกว่า ช้างสีดอ (mukna)

  • ช้างตัวเมีย เรียก ช้างพัง ช้างสีดอและช้างพัง ไม่มีงา มีแต่ขนายที่ใช้แทนงา

  • ช้างเผือก คือ ช้างที่มีต่อมทำสีเมลานินผิดปกติ ผิวหนังและขนค่อนข้างเป็นสีหม้อใหม่ นัยน์ตาขาวๆ เหลืองๆ ส่วนอื่นๆ จะเป็นสีจาง ช้างแก่ๆ มักมีโคนงวงและใบหูตกกระเป็นสีหม้อใหม่เหมือนกัน

  • ช้างป่า เรียกหน่วยนับเป็น ตัว ช้างเลี้ยง เรียกหน่วยนับเป็น เชือก

ช้างเอเซียพันธุ์สุมาตรา ( Elephas maximus sumatranus Temmick )
เป็นช้างที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าตามธรรมชาติบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ขนาดร่างกายมักจะเล็กกว่าช้างเอเซียพันธุ์อินเดีย

ช้างแอฟริกา (Loxodonta africana)
ช้างแอฟริกาที่สมบูรณ์เต็มที่ สูงกว่าช้างเอเชีย คือ สูงเฉลี่ย ประมาณ 3,5 เมตร ช้างแอฟริกาไม่ว่า จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียล้วนแต่มี งาทั้งสิ้น ฉะนั้น การสังเกตเพศของ ช้างแอฟริกาโดยการดูงาจึงทำ ไม่ได้ หัวของช้างแอฟริกามี ส่วนที่เป็นหน้าผากแหลมแคบและมี โหนกศีรษะเพียงลอนเดียว

เมื่อเทียบเฉพาะส่วนหัวแล้ว ช้าง แอฟริกามีหัวเล็กกว่าช้างเอเชีย แต่ช้างแอฟริกามีใบหูใหญ่ กว่า และมีขอบหูด้านบนสูงกว่า ระดับศีรษะ เวลามันโกรธ จะกางใบหู ออกเต็มที่ ปลายงวงของช้างแอฟริ กามี 2 จะงอย เท้าหลังมีเล็บ เพียง 3 เล็บ ช้างแอฟริกามีสันหลัง ตรงหรือแอ่นลงเล็กน้อย ช้างแอฟริ กาเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในป่าโปร่ง และไม่กลัวแสงแดด

ดังนั้น มันจึงสามารถทรต่อ อากาศร้อนของทวีปแอฟริกาได้ดี เนื่องจากช้างแอฟริกามีกะโหลกศีรษะ เล็กกว่าช้างเอเชีย มันสมองของมัน จึงเล็กตามไปด้วย ทำให้ช้างแอฟ ริกามีความเฉลียวฉลาดน้อยกว่าช้าง เอเชีย และมีความดุร้ายมาก นำ มาฝึกเพื่อใช้งานหรือให้ทำงานอื่น ใดได้ยาก จึงไม่มีผู้ใดนำ ช้างแอฟริกามาฝึกใช้งานในป่าไม้ หรือเล่นละครสัตว์เลย

นอกจากช้าง 2 สกุล ดังกล่าวแล้ว ยังมีช้างแอฟริกาอีกจำพวกหนึ่ง มีขนาดเล็กคือมีความสูงประมาณ 2 เมตร เรียกว่า ช้างแคระ (pygmy elephant) อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำคองโก ปัจจุบันนี้มีเหลืออยู่น้อย เพราะชาว แอฟริกาชอบล่าช้างชนิดนี้เอาเนื้อ ไปใช้เป็นอาหารกันมาก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย