ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
ช้างเอราวัณ
เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์
เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้
พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์
ช้างไอราวัณ เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส
เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์
โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน
ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
ช้างพลายมงคล
เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์
แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์
พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก
จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย
มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ
หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่
พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย
พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ
รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย
พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ
รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่
ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้
ช้างไทยในแต่ละรัชกาล
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย
ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า
500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้
กรุงสุโขทัย
ในศิลาจารึกหลักที่ 1
กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี
ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์
แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย
กรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล
-
ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
-
ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น
-
ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร
-
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์
-
ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ
-
ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร
-
ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์
กรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก
ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย
กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย
กรุงรัตนโกสินทร์
-
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์
-
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
-
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ
-
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ
-
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ
-
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ
-
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
-
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ