ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
การฝึกลูกช้าง
ลูกช้างที่สมบูรณ์ เมื่อมีอายุประมาณ 4-5 ขวบ จะมีร่างกายใหญ่โตพอที่จะฝึกให้ทำงานต่าง ๆ ได้ประกอบกับเป็นระยะเวลาที่ลูก ช้างหย่านมแล้ว การฝึกลูกช้างที่มีอายุน้อย ทำได้ง่ายกว่าฝึกลูกช้างที่มีอายุมาก ลูกช้างที่โตเกินไปมักจะทน ต่อการถูกบังคับและทนต่อการฝึกสอนไม่ได้ จึงอาจจะตายในระยะฝึกสอนได้ง่ายกว่าลูกช้างที่มีอายุน้อย ๆ การฝึกสอนลูกช้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
การฝึกสอนเบื้องต้น
ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เริ่มตั้งแต่วันลูกช้างเข้าคอกที่เตรียมไว้ สถานที่ที่ฝึกสอนควรเป็นสถานที่ร่มเย็นและใกล้น้ำ เพราะ จะต้องให้ลูกช้างฝึกอาบน้ำด้วย ในระยะ 1 เดือน ที่ลูกช้างได้รับการฝึกเบื้องต้นนี้ ลูกช้างจะได้รับการสอนให้รู้จัก การใส่ปลอกขาหน้าหรือ "จะแคะ" การมีคนขึ้นขี่หลังการยกเท้าหน้าให้คนขี่ขึ้นลง การเดินไปยังที่ต่าง ๆ โดยมีคนขี่คอคอยบังคับ การอาบน้ำ ฯลฯ ในระหว่างการฝึกนี้ผู้ฝึกจะต้องนำลูกช้างเข้าออกคอกอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำความคุ้นเคยกับคนขี่คอ ซึ่ง จะเป็น "ควาญ" ในเวลาต่อไป
การฝึกขั้นสุดท้าย
คือ
การฝึกงานด้านทำไม้ซึ่งเป็นการฝึกทีละขั้นให้ลูกช้างรู้จักกับการใส่เครื่องอุปกรณ์
สำหรับใช้ในการชักลาก ไม้ ฝึกชักลากไม้แบบต่าง ๆ
ถ้าเป็นลูกช้างตัวผู้ที่มีงาก็ฝึกการยกไม้ด้วยงา ฝึกการทำไม้บนเขา ทำไม้ในลำห้ว ย
ฝึกให้ทำงานร่วมกับช้างอื่น ตลอดจนฝึกให้ชินกับเสียงของเครื่องยนต์ที่ใช้ในการทำไม้
การฝึกลูกช้างในการทำไม้นี้ต้องใช้เวลานาน 3-4 ปี เพราะ ต้องค่อย ๆ ฝึกทีละน้อย
และให้ลากไม้ท่อนเล็ก ๆ ไปพลางก่อน ความจริงการฝึกขั้นสุดท้ายนี้อาจจะใช้เวลาเพียง
1 หรือ 2 ปีก็พอ แต่เมื่อฝึกไปแล้วช้างยังตัวเล็กอยู่ ยังใช้ทำงานหนักไม่ได้
จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการฝึกในระยะนี้ต้องใช้เวลานาน