ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
วันช้างไทย
เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม
ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี
มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว
จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม
ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ
มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม
จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี
โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคม
เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29
พฤษภาคม 2541
ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น
นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง
นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ
หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์