ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประเภทและสายพันธุ์
ช้างไทยในประวัติศาสตร์
ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วันช้างไทย
ลักษณะทั่วไปของช้าง
การฝึกลูกช้าง
กำลังงานของช้าง
ลักษณะช้างที่ดี
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
ช้างประจำรัชกาลที่ 9
วิกฤตปัญหาช้างไทย
ปัญหาของช้างเลี้ยง
ปัญหาการใช้งานช้างเลี้ยงอย่างไม่เหมาะสม
ลักษณะช้างที่ดี
ช้างก็เหมือนมนุษย์ ย่อมมีลักษณะที่มองดูสวยงามหรือไม่สวยงาม ช้างที่มีลักษณะดี ต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ศีรษะ โต แก้มเต็ม หน้าผากกว้าง มีดวงตาแจ่มใส มีขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อย ลาดไปทาง หางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้เรียกว่า "แปก้านกล้วย" ถือกันว่าเป็นลักษณะของช้างดีที่สุด เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมอง ดูสง่า ถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กันออกมา ไม่บิดหรือถ่างห่างจากกันมากเกินไป ลักษณะของชาย ใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาด การสังเกตดูช้างว่ามีสุขภาพดีหรือไม่นั้น มีข้อสังเกตอย่างง่าย ๆ คือ ช้างนั้นจะยืนแกว่งงวงแล ะพับหูไปมา อยู่เสมอ และเดินหาหญ้าหรืออาหารอื่นกินอยู่ตลอดเวลา ที่เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ ซึ่งมองเห็นได้ง่ายจา กรอยเปียกของฝุ่นที่เกาะเท้าช้าง ทั้งนี้เนื่องจากช้างไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังเหมือนมนุษย์เรา ฉะนั้น มันจึงใช้โคนเล็บเป็ นที่ระบายเหงื่อ หรือ ระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ช้างเผือก คำว่า ช้างเผือก คำว่า ช้างเผือก
เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิด
แปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ
ประกอบด้วย ฉะนั้น คำว่าช้างเผือกตามความ
หมายที่เราเข้าใจกันจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้
เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่อง นี้
ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่
ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2465 (ราช กิจจานุเบกษา เล่ม 38 หน้า 75
วันที่ 26 มิถุนายน 2464) มาตรา 4 โดยระบุไว้ว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า
ช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขน ขาว พื้นหนังขาว
(หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้ อใหม่) ส่วน
"ช้างสีประหลาด ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 7 อย่าง
ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญจากความ หมายตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้
ชี้ให้เห็นชัดว่า "ช้างสำคัญ" คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้าง
เผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น
อาจไม่ใช่ช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่มี ลักษณะครบถ้วนก็ได้
เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ 1 ในจำนวนมงคลลักษณะ 7 ข้อ
ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า "ช้างสีประหลาด" เท่า นั้น ดังนั้น
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า "ช้างเผือก" เพราะเกรงว่าจะเข้าใจสับสนกัน