ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
พม่า (Myanmar)
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
กบฏซายา ซาน การลุกฮือของชาวนา
กบฏของซายา ซาน นี้มีลักษณะของการลุกฮือของชาวนา ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ เป็นชาวไร่ชาวนา โดยได้อิทธิพลจากพุทธศาสนาในรูปแบบขบวนการพระศรีอาริย์ คล้ายกับขบถผู้มีบุญของไทย โดยเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรงมาก จากพม่าตอนล่างถึงตอนบน และเข้าไปถึงรัฐฉานด้วย อังกฤษใช้ทหารและอาวุธทันสมัยปราบอยู่ 2 ปี จึงราบคาบ ชาวพม่าในชนบทคือพวกชาวนาได้ตกอยู่ในสภาพแร้นแค้นถูกเอารัดเอาเปรียบ มีหนี้สินมาก ความไม่พอใจต่อสภาพชีวิตของตนได้ปะทุอย่างรุนแรงในกรณีกบฎซายา ซาน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544: 68-69)
ขณะที่มีความเคลื่อนไหวในเมืองใหญ่เช่นกัน ผู้นำรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ได้รวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มต่างๆ เช่น YMBA, GCBA และสมาคมเราชาวพม่า เพื่อมุ่งหมายในการกอบกู้เอกราชพม่า ความเปลี่ยนแปลงนี้กลายเป็นพลังสำคัญ และผลักดันการปลดปล่อยประเทศในที่สุด การเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยมพม่าทำให้อังกฤษยินยอมพิจารณาปัญหาการปกครองตนเองของพม่า ภายหลังการประท้วงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พม่าก็พ้นจากการเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ในปี ค.ศ. 1937 และมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองซึ่งประกาศใช้ในปีเดียวกัน ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่าก็ได้มีการปกครองตนเองมากขึ้น อังกฤษยอมให้มีระบบรัฐสภา การเลือกตั้ง และมีนายกรัฐมนตรีเป็นชาวพม่า แต่ระบบนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ในมืออังกฤษ เพราะอังกฤษยังคงคุมกองทัพและการคลังอยู่
- ประวัติศาสตร์การเมืองพม่าสมัยอาณานิคม
- พม่าทำสงครามกับอังกฤษ
- ขบวนการชาตินิยมและพระสงฆ์
- YMBA ถึง GCBA
- กบฏซายา ซาน การลุกฮือของชาวนา
- สงครามโลกครั้งที่ 2 กับการกู้เอกราชของพม่า
- ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองพม่า
- พม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
- การเมืองพม่าตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ
ค.ศ. 1988
ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า