ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

พม่า (Myanmar)

การเมืองพม่า

อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง

YMBA ถึง GCBA

YMBA ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นองค์กรทางการเมือง โดยใช้ชื่อว่า General Council of Burmese Associations (GCBA) ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศและโดยปกติไม่ได้ยึดติดอยู่กับศาสนาใด.

ในปี ค.ศ. 1920 นักศึกษามหาวิทยาลัยได้เรียกร้องให้มีการประท้วงนโยบายอังกฤษทั่วพม่า การประท้วงนี้ถือเป็นสัญลักษณ์เริ่มต้นของการที่นักศึกษาเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประเทศ (Josef Silverstein: 1977: 14)

ช่วงเวลาเดียวกัน พระสงฆ์รูปหนึ่งนามว่า อู อุตมะ ได้กลายเป็นผู้นำพระสงฆ์รุ่นใหม่ ที่พยายามตีความพุทธศาสนาแบบใหม่ คือถือว่าพุทธศาสนานั้นสอดคล้องกับการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพม่า กล่าวคือ การที่คนจะตัดกิเลสได้นั้นต้องมีอิสระเสียก่อน. อู อุตมะตีความว่า สังคมนิยมนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับ โลกนิพพานของพระพุทธศาสนา และการรณรงค์ต่อต้านอังกฤษ จึงเริ่มนำความคิดและประเพณีทางพุทธศาสนาในการ ‘คว่ำบาตร’ มาใช้กับอังกฤษ

สถานการณ์นอกประเทศก็มีส่วนทำให้ขบวนการชาตินิยมพม่าเข้มแข็งขึ้น นั่นคือ เมื่อญี่ปุ่นรบชนะรัสเซีย ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ และกลายเป็นแรงบันดาลใจของชาวเอเชียในการเอาชนะฝรั่ง และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คนพม่าได้เห็นความแตกแยกกันในหมู่ฝรั่ง อีกทั้งคนพม่าที่มีการศึกษาสนใจต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอินเดีย เนื่องจากอังกฤษต้องการความช่วยเหลือจากอาณานิคมอินเดียในการทำสงคราม จึงเอาใจอินเดียด้วยการให้อินเดียปกครองตนเอง ข่าวนี้ได้แพร่ไปในพม่าและเกิดการประท้วงอย่างแพร่หลาย รวมทั้งการก่อตัวของ GCBA ข้างต้น ที่เน้นการปฏิบัติการทางการเมืองโดยตรง ไม่จำกัดเฉพาะคนหนุ่มที่มีการศึกษาแบบตะวันตกเท่านั้น (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544: 67)

ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1930 ได้เกิดกบฏของซายา ซานขึ้น โดยได้แรงกระตุ้นมาจากผลของลัทธิอาณานิคมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และจากแรงบันดาลใจทางความเชื่อตามเรื่องปรัมปราของพุทธศาสนา การกบฏครั้งนี้อาจมีส่วนในการจุดประกายให้กับพวกนักศึกษาซึ่งต่อมามีการจัดตั้งสมาคมเราชาวพม่า (Dobhama Asiayone หรือ We Burman Society [Our Burma ]) ในปี ค.ศ. 1936 อันเป็นจุดเริ่มต้นของผู้นำพม่าที่เรียกร้องเอกราชที่สำคัญๆ เช่น อู อองซาน และอูนุ พวกนักศึกษาเริ่มใช้คำว่า “ทะขิ่น” (Thakin) เรียกกันเอง คำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกขานชาวอังกฤษ หมายถึง “เจ้านาย”

- ประวัติศาสตร์การเมืองพม่าสมัยอาณานิคม
- พม่าทำสงครามกับอังกฤษ
- ขบวนการชาตินิยมและพระสงฆ์
- YMBA ถึง GCBA
- กบฏซายา ซาน การลุกฮือของชาวนา
- สงครามโลกครั้งที่ 2 กับการกู้เอกราชของพม่า
- ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองพม่า
- พม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
- การเมืองพม่าตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ ค.ศ. 1988

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย