ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

พม่า (Myanmar)

การเมืองพม่า

อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง

ขบวนการชาตินิยมและพระสงฆ์

ขบวนการชาตินิยมพม่า เป็นปรากฏการณ์ของขบวนการในอุษาคเนย์ที่ต่อต้านอำนาจเจ้าอาณานิคม เพื่อปลดปล่อยตนเองเป็นเอกราช เมื่อแรกเริ่มขบวนการในพม่าได้อิทธิพลจากทั้งพระพุทธศาสนาและขบวนการสมัยใหม่ โดยเมื่ออังกฤษเข้ามามีอำนาจนั้นไม่ได้ให้ความสนใจต่อสถาบันทางศาสนา ดังนั้นจึงให้เสรีภาพด้านศาสนาอย่างเต็มที่ แต่ขณะเดียวกันองค์การศาสนาก็ถูกละเลย และเกิดความปั่นป่วนขึ้น ทำให้พระสงฆ์พม่าไม่พอใจมาก ต่อมาพระสงฆ์ได้มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ระบบกษัตริย์ถูกทำลายไป พระสงฆ์จึงกลายเป็นผู้นำทางจิตใจกลุ่มเดียวที่เหลืออยู่

ในระยะแรกของขบวนการชาตินิยม พระสงฆ์จึงมีบทบาทในการเป็นผู้นำประชาชนในการประท้วงด้านวัฒนธรรม เช่น ชักชวนให้ชาวพม่าเคร่งครัดต่พุทธศาสนาและประเพณีดั้งเดิม เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่ออังกฤษ และยังมีการประท้วงอีกหลายรูปแบบ ตั้งแต่การประท้วงเชิงวิพากษ์วิจารณ์เรียกร้องให้อังกฤษทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การอดอาหารประท้วง อย่างกรณีของพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อ อู วิสาระ ได้อดอาหารประท้วงถึง 166 วันจนมรณภาพ ต่อมาขบวนการชาตินิยมมีการประสานกันมากขึ้นทั้งพระและฆราวาส

ในปี ค.ศ. 1906 มีการก่อตั้งสมาคมชาตินิยมกลุ่มแรกขึ้นโดยมีชื่อว่า Young Men Buddhist Association (YMBA) หรือสมาคมชาวพุทธหนุ่มภายหลังเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ที่ผู้นำนักศึกษาพม่าเริ่มมีบทบาทและใช้คาว่า Buddhist เพื่อแสดงความตรงข้ามกับ Christian ของชาวอังกฤษ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2544: 57 - 59)

สมาคมชาวพุทธหนุ่มประสบความสำเร็จอย่างมาก ในกรณีการประท้วงห้ามสวมเกือก (No Footwear) เป็นการต่อต้านที่ฝรั่งสวมรองเท้าเข้าวัด เพราะคนพม่านั้นจะไม่สวมรองเท้าเข้าวัด ต้องถอดตั้งแต่บริเวณเข้าวัดทีเดียว ชาวพม่าถือว่าการกระทำของฝรั่งลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาและชาวพม่ามาก การประท้วงครั้งนี้ได้ผลอย่างยิ่ง กลายเป็นจุดร่วมของความรู้สึกชาตินิยมพม่า เมื่อพ.ศ. 2461 ทำให้ชาวอังกฤษต้องยอมถอดเกือกเข้าวัด

การนำความศรัทธาในพุทธศาสนามาเป็นจุดร่วมของความรู้สึกชาตินิยม ไม่ได้เกิดจากกรณี”ห้ามสวมเกือก”เป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง อันเนื่องจากฝรั่ง “ผู้สวมเกือก” (ตั้งแต่ก่อนพม่าตกเป็นของอังกฤษ) มีการขูดรีดทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเกิดความอดอยากขาดแคลนถึงขั้นปล้นชิงข้าวกันกิน และเกิดจากการถูกลบหลู่สิ่งที่ชาวพม่าเคารพบูชา เช่น การอพยพของชาวพม่าจำนวนมากขึ้นไปทางตอนเหนือเมื่ออังกฤษยึดเมืองพะโคหรือหงสาวดีได้ อันแสดงถึงความรู้สึกเป็นศัตรู เนื่องจากอังกฤษใช้เจดีย์ของพุทธศาสนาไปในทางเสื่อมเสีย กล่าวคือ ไม่เพียงใช้อนุสาวรีย์ทางพุทธศาสนาไปในการทหารเท่านั้น แต่ยังปล้นเอาสิ่งมีค่าไปด้วย (ธีรภาพ โลหิตกุล, 2548: 401-402)

- ประวัติศาสตร์การเมืองพม่าสมัยอาณานิคม
- พม่าทำสงครามกับอังกฤษ
- ขบวนการชาตินิยมและพระสงฆ์
- YMBA ถึง GCBA
- กบฏซายา ซาน การลุกฮือของชาวนา
- สงครามโลกครั้งที่ 2 กับการกู้เอกราชของพม่า
- ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองพม่า
- พม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
- การเมืองพม่าตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ ค.ศ. 1988

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย