ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
พระบรมครู
ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย
พระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นสักกะ ซึ่งพูดภาษาสันฤต แต่ทรงประดิษฐาน พระพุทธศาสนาครั้งแรกในแคว้นมคธ ซึ่งพูดภาษามคธ หรือภาษาบาลี การที่พระองค์ทรงสามารถ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในแคว้นนั้นได้สำเร็จโดยรวดเร็ว เป็นเพราะพระองค์ทรงใช้ภาษามคธ ในการประกาศศาสนา เป็นธรรมดาอยู่เองที่ชาวมคธจะเข้าใจ ภาษามคธได้ดีกว่าภาษาสันฤต ความเข้าใจถูกต้องทำให้ปฏิบัติถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ในการสอน เป็นที่ยอมรับกันว่าพระพุทธเจ้า คงไม่ใช้ภาษามคธเพียงภาษาเดียว ในการประกาศศาสนา เพราะตลอดพระชนม์ชีพพระองค์เสด็จจาริก ไปสั่งสอนประชาชนหลายแคว้น ซึ่งพูดภาษาต่างๆ กัน พระองค์ต้องทรงใช้ภาษาของแคว้นนั้นๆ ในการสอนเป็นแน่ จึงทรงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม อีกประการหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่า ภาษาบาลีที่เป็นพุทธพจน์ อ่านเข้าใจง่ายกว่าภาษาของพระอรรถกถาจารย์ และพระฎีกาจารย์ นี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงใช้ภาษาง่ายๆ สอนประชาชน มิได้ทรงใช้ศัพท์แสงสูงๆ อะไรเลย
เรื่องการใช้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญมาก ภาษาเป็นสื่อแห่งความเข้าใจ
ไม่ควรทำภาษาให้เป็นอุปสรรค ภาษาใดเข้าใจกันมากที่สุด ต้องพูดภาษานั้น
ในประเทศไทยมีภาษาถิ่นอยู่มาก การจะเข้าถึงประชาชน จำเป็นต้องพูดภาษาถิ่นของเขา
เพราะเขาเข้าใจได้ดีที่สุด แต่สำหรับโรงเรียนในชนบท ที่พูดภาษาถิ่นต่างๆ
นักเรียนจำต้องเรียนวิชาต่างๆ ด้วยภาษาไทยกลาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ
ให้นักเรียนไทยเรียนวิชาต่างๆ ด้วยภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุนี้เอง
นักเรียนในชนบทที่พูดภาษาถิ่นของตน จึงมีความรู้สู้นักเรียน ที่พูดภาษากลางไม่ได้
ความจริงการสอนภาษาไทยกลาง ให้แก่นักเรียนไทยทุกคน เป็นสิ่งพึงประสงค์เพราะจะทำให้
คนในชาติเดียวกันติดต่อสื่อสารกันได้โดยสะดวก แต่สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ
นักเรียนที่พูดภาษาถิ่น ซึ่งผิดจากภาษาไทยไปมาก เช่น ภาษามลายู ภาษาเขมร ภาษาส่วย
ควรจะได้เรียนภาษาไทยให้พูดได้ ฟังเข้าใจเสียก่อน เป็นเวลา 1 ปี จึงให้เรียนชั้น
ป.1 ถ้าทำได้อย่างนี้เข้าใจว่า นักเรียนที่พูดภาษาถิ่นเหล่านั้น จะเรียนได้ดีขึ้น
อีกประการหนึ่ง
การสอนนักเรียนชั้นต่างๆ ครูต้องพูดให้นักเรียนเข้าใจ เหมาะสมกับชั้น
การใช้ภาษายากๆ ศัพท์สูงๆ หรือพูดภาษาไทยปนอังกฤษ โดยที่นักเรียนไม่เข้าใจ
จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
» ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ
» ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย
» ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้