ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

พระบรมครู

ทรงสอนโดยจัดคำสอนเป็นข้อๆ

               พระสูตรทุกสูตรก็มีการจัดธรรมะเป็นข้อๆ เมื่อเริ่มต้นสอน พระพุทธองค์จะทรงบอกว่า ธรรมะต่อไปนี้มีกี่ข้อ อะไรบ้าง แล้วทรงอธิบายธรรมตามลำดับข้ออย่างละเอียด จะละเอียดมากหรือน้อย แล้วแต่ผู้ฟังจะเข้าใจได้ดีเพียงไร ลงท้ายจะทรงสรุปข้อธรรมนั้นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทรงชี้แจงว่า จะได้รับผลอย่างไร จากการปฏิบัติข้อธรรมนั้นๆ ในบางกรณีจะทรงสรุปคำสอนมากๆ ลงมาเป็น "หัวใจ" เช่น หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ เว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจบริสุทธิ์ นักศึกษาพระพุทธศาสนารุ่นหลัง ก็นิยมย่อข้อธรรมต่างๆ ลงมาจำเฉพาะหัวใจ เช่น หัวใจพระธรรมวินัยปิฏก คือ อา ปา ม จุ ป ซึ่งหมายถึง อาทิกรรม ปาจิตตีย์ มหาวรรค ปริวาร หัวใจพระสุตตันตปิฏก คือ ที ม สัง อัง ขุ ซึ่งหมายถึง ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย หัวใจพระอภิธรรมปิฏก คือ จิ เจ รุ นิ ซึ่งหมายถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือ หัวใจเศรษฐี ได้แก่ อุ อา ก ส ซึ่งหมายถึง อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน อารักขสัมปทา เก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้ กัลยาณมิตตา คบเพื่อนที่ดี สมชีวิตา การครองชีพโดยสม่ำเสมอไม่ตระหนี่ ไม่ฟุ่มเฟือย


           การจัดทำคำสอนเป็นข้อๆ นี้ทำให้เข้าใจง่าย จำง่าย เหมาะกับการสอนแบบบรรยาย ครูผู้สอนควรจะบรรยายเป็นข้อๆ เรียงตามลำดับไม่ให้เบื่อ ไม่ให้วนเวียน เมื่อจบแล้วสรุปอีกครั้งหนึ่ง จะทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย

» ทรงพร้อมที่จะสอน

» ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

» ทรงสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย

» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง

» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ

» ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย

» ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้

» ทรงสอนจากยากไปหาง่าย

» ทรงสอนโดยจัดคำสอนเป็นข้อๆ

» ทรงสอนตามความเข้าใจของผู้อื่น

» ทรงสอนโดยวิธีซักถาม

» ทรงสอนให้ผู้ฟังลงมือปฎิบัติ

» ทรงสอนโดยใช้อุปกรณ์การสอน

» ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย