ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
พระบรมครู
ทรงสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนอย่างเลื่อนลอยปราศจากจุดมุ่งหมาย หรือว่าไปตามเนื้อผ้า ตามความรู้ที่พระองค์มีอยู่ แต่ทุกครั้งที่ทรงสอน ได้ทรงตั้งจุดมุ่งหมายไว้เสมอ จุดมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ จุดมุ่งหมายทั่วไป กับ จุดมุ่งหมายเฉพาะ
- จุดมุ่งหมายทั่วไป เป็นจุดมุ่งหมายขั้นสุดยอด หรือจุดมุ่งหมายในระยะยาว ซึ่งได้แก่ความพ้นทุกข์ พระองค์ตรัสว่า วิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะต้อง พยายามดำเนินไปให้ถึงให้จงได้
-จุดมุ่งหมายเฉพาะ เป็นจุดมุ่งหมายของการสอนแต่ละครั้ง เช่น ถ้าทรงสอนมหาโจร ก็เพื่อให้เขาพ้นจากความเป็นโจร กลายเป็นคนดีอยู่ในสังคมมนุษย์ได้ ถ้าทรงสอนคนที่มีความหลงผิด ก็เพื่อให้เขาพ้นจากความเห็นผิด มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถ้าทรงสอนคนที่มีความประพฤติดีอยู่แล้ว ก็เพื่อให้เขามีความรู้ดี และประพฤติดียิ่งขึ้น รวมความก็คือ เพื่อให้ผู้ฟังมีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในทางที่พึงปรารถนา
ครูที่สอนนักเรียนก็จำเป็นต้องตั้งจุดมุงหมายว่า ที่สอนๆ ไปนั้นสอนเพื่ออะไร ต้องการให้นักเรียนมีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงไปในทางใด ไม่ใช่สอนปาวๆ ไปตามตำรา พอจบตำราก็ถือว่าสอนจบแล้ว นักเรียนจะมีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ ไม่คำนึงถึง ผลสุดท้ายก็ปรากฏว่าสอนไปแล้วหนึ่งปี นักเรียนยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ ไม่มีความรู้อะไรนอกจากท่องจำ และมีความประพฤติอย่างเดิม
» ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ
» ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย
» ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้