ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
พระบรมครู
ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาฯ
คำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่มีเหตุผล
และพระพุทธเจ้าทรงให้ผู้ฟัง ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผลก่อนแล้ว
จึงเชื่อไม่ได้ บังคับให้เชื่อ หรือเชื่อโดยเคารพนับถือผู้สอน เช่น
พระพุทธเจ้าทรงสอนชาวกาลามะว่า อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
อย่าเชื่อโดยถือว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าเชื่อโดยถือว่าผู้นี้เป็นครูของเรา
เป็นต้น แต่เมื่อได้พิจารณา สอบสวนด้วยตนเองแล้ว เห็นว่าคำสอนนั้นมีหลักฐาน
มีเหตุผลจึงสมควรเชื่อ
ในการแสดงเหตุผล ในบางกรณี พระพุทธเจ้าทรงยกผลขึ้นแสดงก่อน
แล้วจึงสาวสาเหตุ เช่น อริยสัจสี่ ทรงแสดงผล คือ
ทุกข์ก่อนว่าทุกข์มีลักษณะอย่างไร ได้แก่อะไรบ้าง แล้วทรงแสดงเหตุของทุกข์ คือตัณหา
เมื่อทราบว่าตัณหาเป็นเหตุของทุกข์ การจะแก้ทุกข์ ต้องแก้ที่เหตุคือตัณหาให้ได้
จึงทรงแสดง นิโรธ ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหา
แต่นิโรธซึ่งเป็นผลนั้นจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องมีเหตุ จึงทรงแสดงเหตุ ให้ถึงนิโรธ
คือมรรค รวมความแล้วเป็นผล-เหตุ 2 คู่ คือ ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล
มรรคเป็นเหตุ แต่ในบางกรณี พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงเหตุผล ไปตามลำดับ เช่น
ปฏิจจสมุปบาท ทรงแสดงว่า อวิชชา เป็นเหตุให้เกิดสังขาร สังขารเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นเหตุให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นเหตุให้เกิดอายตนะ 6 อายตนะ 6
เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นเหตุให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นเหตุให้เกิดตัณหา
ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุให้เกิดภพ ภพเป็นเหตุให้เกิดชาติ
ชาติเป็นเหตุให้เกิดชรา และมรณะ
การสอนนักเรียน ครูพยายามส่งเสริมให้นักเรียน คิดหาเหตุผลตนเอง
ไม่ใช่เชื่อและจำตามตำราอย่างเดียว การคิดหาเหตุผลทำให้เข้าใจ
และจำได้เองโดยไม่ต้องท่อง แต่การคิดหาเหตุผลนั้น ก็ต้อง
เป็นไปตามระดับชั้นของนักเรียน เด็กเล็กๆ มักจะคิดหาเหตุผลที่ยากๆ
ไม่ได้แต่ใช่ว่าเด็ก จะไม่มีเหตุผลเสียเลยทีเดียว
การฝึกให้เด็กคิดหาเหตุผลจากง่ายไปหายาก จะเป็นการส่งเสริมเอกัตภาพของเด็ก
การสอนแบบพระพุทธเจ้า ที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงบางส่วน ที่คิดออกในขณะนี้
ความจริงพระพุทธเจ้ายังมีวิธีสอนอีกมากมายนัก หวังว่าท่านผู้รู้
คงจะช่วยกันค้นคว้าออกมาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษาไทย ในโอกาสต่อไป
» ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง
» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ
» ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย
» ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้