ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
นวโกวาท
(ฉบับประชาชน)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
วินัยบัญญัติ
พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๑
ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อวันประสูติ นั้นฝนตกใหญ่
พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิตพระราชทานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
หลังจากประสูติได้เพียงปีเดียว เจ้าจอมมารดาของพระองค์ก็ถึงแก่กรรมพระองค์จึง
ทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของกรมหลวงวรเสฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระญาติ
ทรงเรียกว่าเสด็จป้า มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมา ทรงย้ายมาอยู่กับท้าวทรงกันดาร
(ศรี) ผู้เป็นยาย
เมื่อพระชนมายุ ๘ พรรษา
ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษาอยู่จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนที่จะทรงผนวชเป็นสามเณร
และทรงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษกับครูฝรั่งเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา นอกจากนี้
ยังทรงศึกษาโหราศาสตร์กับครูที่เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์มาแต่พระชนม์ยังน้อย
เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับเจ้านายอื่นอีก ๒ พระองค์
สมเด็จพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา
(พระนามเดิม ศิขเรศ) เป็นประทานสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว มาประทับ ณ วัด
บวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๒ เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช
ครั้น พระชนมายุ ๒๐ พรรษา
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒
สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม
จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงหน้าเข้าพรรษาของปีนั้นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงถวายพุ่มพรรษา ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร ตามราชประเพณี และในคราวนั้น ได้เสด็จฯ
ไปถวายพุ่มพรรษาแด่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
ซึ่งเพิ่งทรงผนวชใหม่ถึงกุฏิที่ประทับ พร้อมทั้งทรงกราบด้วยพระอาการเคารพ
อันเป็นพระอาการที่ไม่เคยทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นที่ทรงผนวช
เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นทรงตัดสินพระทัยไม่ทรงลาผนวชแต่วันนั้น
หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษาแล้ว
ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๒ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ในสำนักของพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม)
ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามนั้นเอง
ได้ทรงทำทัฬหีกรรม
อุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น
โดยพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร)
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญอยู่วัดโสมนัสวิหาร
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ โบสถ์แพ หน้าวัดราชาธิวาส เมื่อ วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๒๒
เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติ ธรรมหน้า
พระที่นั่ง ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหราฬ ห้องเขียวท่ามกลางประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่
๑๐ รูป มีสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธาน ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
และทรงหยุดอยู่เพียงนั้น
หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เป็น เปรียญ ๕ ประโยคแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็น
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุตินิกาย เมื่อ พ.ศ.
๒๔๒๔
พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะรองในคณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรกและทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ทรงมีพรรษา
ยุกาลน้อยที่สุด คือ ๓ พรรษาเท่านั้น
พ.ศ.๒๔๓๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะเมื่อทรงดำรงพระอิศริยยศ
เป็นกรมหมื่น ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๓
ครั้น ปี พ.ศ.
๒๔๓๖ ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
นับเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตพระองค์ที่ ๒
ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเมื่อทรงมีพรรษายุกาล ๑๕ พรรษา
เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนา
โดยทรงเริ่มทำขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหารก่อนเป็นการทดลองเพื่อดูผลได้ผลเสียและทรงปรับปรุงแก้ไขจนทรงเห็นว่า
มีผลดีเป็นคุณประโยชน์แก่พระศาสนาเป็นส่วนรวม จึงทรงขยายออกในวงกว้าง
กล่าวเฉพาะที่สำคัญ คือ
ทรงริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่เล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย
เพื่อให้รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งส่วนที่เป็นธรรม
และวินัยในขั้นพื้นฐานในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยพระองค์ได้ทรงสอนด้วยพระองค์เอง
มีการสอบความรู้ของภิกษุสามเณรที่เรียนด้วยวิธีสอบแบบใหม่คือวิธีเขียน
ต่อมาได้มีภิกษุสามเณรไม่เฉพาะแต่พระใหม่เท่านั้นที่นิยมเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบใหม่ที่พระองค์ทรงจัดขึ้นนี้
และนิยมแพร่หลายออกไปถึงวัดอื่นๆ ด้วย
เมื่อทรงเห็นว่าเป็นการเล่าเรียนที่มีประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรทั่วไป
จึงได้ทรงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา ที่เรียกว่า
นักธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์สืบมาจนปัจจุบัน
เป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทยคู่กับการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาบาลีที่มีมาแต่โบราณ