ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

นวโกวาท
(ฉบับประชาชน)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

วินัยบัญญัติ
พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ติกะ

รัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์

๑.   ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วงจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า พุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า
๒.   พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
๓.   หมู่ชนที่ฟังคำสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์

คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
๑.   ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒.   ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓.   ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ

โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑.  เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ
๒.  ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ
๓.   ทำใจของตนให้หมดจดจากเรื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

ทุจริต ๓ อย่าง
๑.   ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒.   ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓.   ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกว่า มโนทุจริต

กายทุจริต ๓ อย่าง
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑

วจีทุจริต ๔ อย่าง
พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑

มโนทุจริต ๓ อย่าง
โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากครองธรรม ๑ ทุจริต ๓ อย่างนี้เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย

สุจริต ๓ อย่าง
๑.   ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่ากายสุจริต
๒.   ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓.  ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต

กายสุจริต ๓ อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑

วจีสุจริต ๔ อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑

มโนสุจริต ๓ อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑ สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ

อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ อยากได้ ๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑ เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ โลภะ  โทสะ  โมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย

กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ อโมหะ ไม่หลง ๑ เมื่อกุศลมูลเหล่านี้ อโลภะ  อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน

สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑.  ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒.  ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติใม่ผิด ๓ อย่าง
๑.  อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.  โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓.  ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก

บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑.  ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒.  ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.  ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑.  อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒.  ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓.  อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน


ทุกะ
ติกะ
จตุกกะ
ปัญจกะ
ฉักกะ
สัตตกะ
อัฏฐกะ
นวกะ
ปกิณณกะ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย