ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ธรรมบรรยายของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
โสฬสกิจ
กิจในพระธรรมวินัยนี้ ที่นับว่าสำคัญที่สุดเรียกว่า
โสฬสกิจ
เป็นกิจที่โยคาวจรกุลบุตรพึงพากเพียรพยายามทำให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท
โสฬสกิจ ได้แก่กิจในอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ชั้นโสดาบันก็ประชุม 4 ชั้น สกิทาคามีก็ประชุม 4 สองสี่ก็เป็น 8
ชั้นอนาคามีก็ประชุม 4 ชั้นอรหันต์ก็ประชุม 4 สองสี่ก็เป็น 8 สองแปดเป็น 16
กำหนดสัจจะทั้ง 4 รวมเป็นองค์อริยมรรคเป็นขั้นๆ ไป
เมื่อเรามาเจริญอริยมรรคทั้ง 8 อันมีอยู่ในกายในจิต คือ ทุกข์
เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็นปริญเญยฺยะ ควรกำหนดรู้ก็ได้ กำหนดรู้
สมุทัย เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ เป็นปหาตัพพะ ควรละก็ละได้แล้ว
นิโรธ เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็นสัจฉิกาตัพพะ
ควรทำให้แจ้งก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรค
เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็นภาเวตัพพะ
ควรเจริญให้มากก็ได้เจริญให้มากแล้ว เมื่อมากำหนดพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็แก้โลกธรรม
8 ได้สำเร็จ มรรค อยู่ที่ กาย กับ จิต คือ ตา 2 หู 2 จมูก 2 รวมเป็น 6 ลิ้น 1 เป็น
7 กาย 1 เป็น 8 มาพิจารณารู้เท่าสิ่งทั้ง 8 นี้ ไม่หลงไปตาม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อันมาถูกต้อง ตนของตนจิตไม่หวั่นไหว โลกธรรม 8
เป็นคู่ปรับกับมรรค 8 เมื่อรู้เท่าส่วนทั้งสองนี้แล้ว เจริญมรรคให้บริบูรณ์เต็มที่
ก็แก้โลกธรรม 8 ได้ ก็เป็นผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ
เขมํ เอตมฺ มงฺคลมุตฺตมํ โลกธรรมถูกต้องจิตผู้ใดแล้ว
จิตของผู้นั้นไม่หวั่นไหวเมื่อไม่หวั่นไหวก็ไม่เศร้าโศก เป็นจิตปราศจากเครื่องย้อม
เป็นจิตเกษมจากโยคะ จัดว่าเป็นมงคลอันอดมเลิศ ฉะนี้แล
» ศีล
» วาสนา
» วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก
» ข้อปฏิบัติเป็นของมีอยู่ทุกเมื่อ
» โสฬสกิจ
» มุตโตทัย