ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ธรรมบรรยายของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ปริญเญยฺยธรรม
การกำหนดพิจารณาธรรมเรียกบริกรรมจิตที่กำลังทำการกำหนดพิจารณาธรรมอย่างเอาใจใส่
เมื่อได้ความแน่ใจในเหตุผลของธรรมที่พิจารณานั้นแล้ว จิตจะสงบรวมลงสู่ภวังค์
ดำรงอยู่หน่อยหนึ่งแล้วก็ถอยออก ความสงบในขั้นนี้เรียก บริกรรมสมาธิ หรือ ขณิกสมาธิ
การกำหนดพิจารณาธรรมแล้วจิตสงบรวมลงสู่ภวังค์เข้าถึงฐีติธรรมดำรงอยู่นานหน่อยแล้วถอยออกมารู้เห็นอสุภะปรากฏขึ้น
ความสงบในขั้นนี้เรียกว่า อุปจารสมาธิ
การกำหนดพิจารณาธรรมคืออสุภนิมิต
ที่ปรากฏแก่จิตที่เรียกว่าอุคคหนิมิตนั้นจนเพียงพอแล้ว จิตปล่อยวางนิมิตเสีย
สงบรวมลงสู่ภวังค์ถึงฐีติธรรมดำรงอยู่นาน เป็นเอกัคคตามีอารมณ์เดียว สงบนิ่งแน่วแน่
มีสติรู้อยู่ว่าจิตดำรงอยู่กับที่ ไม่หวั่นไหวไปมา
ความสงบชั้นนี้เรียกว่าอัปปนาสมาธิส่วน นิมิต
อันปรากฏแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาตามลำดับชั้นดังกล่าวนี้ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต
อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ตามลำดับกัน
อนึ่ง ภวังค์ คือภพหรือฐานของจิตนั้น ท่านก็เรียกชื่อเป็น 3
ตามอาการเคลื่อนไปของจิต คือ ภวังคบาท ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ
ขณะแรกที่จิตวางอารมณ์เข้าสู่ฐานเดิมของตน
ที่เรียกอย่างสามัญว่าปกติจิตนั้นแลเรียกว่า ภวังคบาท
ขณะที่จิตเริ่มไหวตัวเพื่อขึ้นสู่อารมณ์อีกเรียกว่า ภวังคจลนะ
ขณะที่จิตเคลื่อนจากฐานขึ้นสู่อารมณ์ เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ
จิตของผู้บำเพ็ญภาวนาเข้าสู่ความสงบถึงฐานเดิมของจิตแล้วพักเสวยความสงบอยู่ในสมาธินั้นนานมี
อาการครบองค์ของฌานจึงเรียกว่า ฌาน
เมื่อทำการพินิจพิจารณาธรรมด้วยปัญญาจนเพียงพอแล้ว จิตรวมลงสู่ภวังค์ คือ
ฐานเดิมของจิตจนถึงฐีติ ขณะตัดกระแสภวังค์ขาดหายไปไม่พักเสวยอยู่
เกิดญาณความรู้ตัดสินขึ้นว่า ภพเบื้องหน้าของเราไม่มีอีก ดังนี้เรียกว่า ฐีติญาณ
» ศีล
» วาสนา
» วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก
» ข้อปฏิบัติเป็นของมีอยู่ทุกเมื่อ
» โสฬสกิจ
» มุตโตทัย