ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
ความไม่เที่ยง
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า อย่างไร
อนิจจังความไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยงไม่เที่ยงเพราะอธิบายว่าไม่เที่ยงเกิดขึ้นและเสื่อมไป
บุคคลเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชรามรณะหายใจออก ย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจเข้าธรรมทั้งหลายด้วยสามารถเป็นผู้พิจารณา ความไม่เที่ยงหายใจออก หายใจเข้า ปรากฏจิตเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช้สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือการพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย