ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
การหลีกออกจากนิวรณ์ธรรม
กามฉันท์เป็นความต่าง เนกขัมมะ เป็นอย่างเดียว
เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจาก
กามฉันท์ เพราะฉะนั้น ปัญญาหลีกออกจากความต่างจึงเป็น เจโตวิวัฏฏญาน
พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว
เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่พยาบาทเป็นธรรมอย่างเดียว
จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็น
เจโตวิวัฏฏญาน
ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็น เจโตวิวัฏฏญาน
อุทธัจจะกุกกุจจะเป็นความต่าง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความสงบ ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจาก อุทธัจจะกุกกุจจะ เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็น เจโตวิวัฏฏญาน
วิจิกิจฉาเป็นความต่าง ความไม่สงสัยเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่สงสัยเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจาก วิจิกิจฉา เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็น เจโตวิวัฏฏญาน
การอธิฐานจิตออกจากนิวรณ์ เป็นจิตตวิวัฏฏญาน
เมื่อพระโยคาวจร ละกามฉันท์ ย่อมอธิฐานจิตด้วยสามารถแห่ง เนกขัมมะ
เมื่อพระโยคาวจร ละพยาบาท ย่อมอธิฐานจิตด้วยสามารถแห่ง ความไม่พยาบาท
เมื่อพระโยคาวจร ละถีนมิทธะ ย่อมอธิฐานจิตด้วยสามารถแห่ง อาโลกสัญญา
เมื่อพระโยคาวจรละ อุทธัจจะกุกกุจจะ ย่อมอธิฐานจิตด้วยสามารถแห่ง
ความไม่ฟุ้งซ่าน
เมื่อพระโยคาวจรละ วิจิกิจฉา ย่อมอธิฐานจิตด้วยสามารถแห่ง ความไม่สงสัย
ธรรมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ
๑. กามฉันทะ ๑. เนกขัมมะ
๒. พยาบาท ๒. ความไม่พยาบาท
๓. ถีนมิทธะ ๓. อาโลกสัญญา
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ๔. ความไม่ฟุ้งซ่าน
๕. วิจิกิจฉา ๕. ความกำหนดธรรม
๖. อวิชชา ๖. ญาน คือความรู้