ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
หลักสูตรและหนังสือเรียนภาษาไทย
นางสาวนิจสุดา อภินันทาภรณ์
หัวหน้าสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หนังสือเรียนภาษาไทยที่ควรรู้จัก
ประถม ก กา
หนังสือประถม ก กา ไม่ได้าระบุชื่อผู้แต่ง และไม่ทราบสมัยที่แต่ง พระวรเวทย์พิสิฐ สันนิษฐานว่า น่าจะใช้เป็นแบบเรียนมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และใช้เป็นแบบเรียนในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๕ ก่อนที่จะมีแบบเรียนมูลบทบรรพกิจ
หนังสือประถม ก กา มีอยู่หลายฉบับด้วยกัน เมื่อกรมศึกษาธิการพิมพ์แบบเรียนได้นำเอาหนังสือประถม ก กา ฉบับที่เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์ ภายหลังเป็นพระยาศรีวรวงศ์) รวบรวมไว้มาพิมพ์เป็นแบบเรียนหนังสือไทยสำหรับชั้นมูลศึกษา
สาระสำคัญ มีสาระสำคัญแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ
๑. แจกตัวสะกดแม่ต่าง ๆ เริ่มจาก แม่ ก กา แจกอักษร ก ถึง ฮ ประสมกัน สระ ๑๕
เสียง แทรกาพย์ยานี แล้วแจกตัวสะกดแม่ต่าง ๆ
๒. อธิบายกฎเกณฑ์ของอักขรวิธี ได้แก่ การแบ่งพยัญชนะตามไตรยางค์
การแบ่งตามการออกเสียง การผันวรรณยุกต์อักษรนำ การใช้ ฤ ฤา ภ ภา
- จินดามณี
- ประถม ก กา
- สุบินทกุมาร
- ประถมมาลา
- แบบเรียนหลวง
- แบบเรียนเร็ว
- แบบสอนอ่านของกรมศึกษาธิการ
- แบบเรียนใหม่
- แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า
- สมัยสุโขทัย
- สมัยกรุงศรีอยุธยา
- สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๔ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
- กรมศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๔๓๐)
- กระทรวงธรรมการ (พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๕๓)
- หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
- หนังสือเรียนภาษาไทยฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
- หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
- หนังสือเรียนภาษาไทยที่ควรรู้จัก
อ้างอิง
- วิชาการ,กรม, ๒๕๒๐ ความเป็นมาของแบบเรียนไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จงเจริญการพิมพ์.
- วิชาการและมาตรฐานการศึกษา,สำนัก,๒๕๕๒. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
- ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
- วิชาการและมาตรฐานการศึกษา,สำนัก, ๒๕๔๔.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔.
- โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.ศึกษาธิการ,กระทรวง, ๒๕๔๕. วิชาการวิจักษณ์ สำนักพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.