ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

๘. คัมภีร์คันถันตระ

คันถันตระ ได้แก่ คัมภีร์นอกสายพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา มธุ กนิฏฐะ คัณฐิ และโยชนา คมภีร์คันถันตระมี ๗ ประเภทคือ

๑.คันถันตระบาลี มิใช่บาลีพระไตรปิฎก
๒. คันถันตระอรรถกถา มิใช่อรรถกถาพระไตรปิฎก
๓. คันถันตระฎีกา ไม่ใช่ฎีกาพระไตรปิฎก
๔. คันถันตระนิสสยะ หรือหนังสือถอดความ
๕. คันถันตระคัมภีร์บาลีไวยากรณ์
๖. คันถันตระอภิธาน
๗. คันถันตระสุโพธาลังการ

คัมภีร์คันถันตระ ท่านแสดงรายชื่อคัมภีร์ไว้ ๕๐ ประเภท คือ

๑. ทีปวังสะ พระเถระลังกา แต่ง
๒. ทีปวังสฎีกา พระชาคราภิวังสะ วัดทักขิณาราม เมืองมัณฑเล แต่ง
๓. มหาวังสฎีกา พระมหานามะ แต่งที่ลังกา
๔. มหาวังสฎีกา พระมหานามะ แต่งที่ลังกา
๕. จูฬวังสะ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๖. มหาโพธิวังสะ เดิมเป็นภาษาสิงหล พระอรหันต์เป็นผู้แต่ง ต่อมา พระมหาอุปติสสะ ชาวลังกา แปลเป็นภามคธ
๗. มหาโพธิวังสฎีกา เรียกว่า สหัสสรังสีฎีกาก็มี พระมหากัสสปะ ชาวพม่า แต่งที่เมืองพุกาม ในรัชกาลพระเจ้านรปติ
๘. ทาฐาธาตุวังสะ เดิมเป็นภาษาสิงหล ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ต่อมาพระธรรมกิติ ศิษย์พระสารีบุตร แปลเป็นภาษามคธ
๙. ทาฐาธาตุวังสฎีกา พระมหาสามิ แต่งที่ลังกา
๑๐. อนาคตวังสบาลี
๑๑. อนาคตวังสอรรถกถา พระมหาอุปติสสะ วัดกาฬวาสีวิหาร ประเทศลังกา แต่งตามคำ
อาราธนาของ พระมหาโพธิ
๑๒. มหาถูปวังสะ พระวาจิสสรเทวปาทะ วัดมหาวิหาร ประเทศลังกา แต่ง
๑๓. จูฬถูปวังสะ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๔. ลาฎธาตุวังสะ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๕. นลาฏธาตุวังสฎีกา พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๖. ฉเกสธาตุวังสะ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๗. สีหฬวัตถุ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๘. สหัสสวัตถุ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๙. ต้นฉบับที่ผู้เขียนนำมาพิมพ์ พิมพ์ตก
๒๐.สิริมหามายาวัตถุ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๒๑. อุปาสกาลังการ พระอานันทาจารย์ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศลังกา
๒๒. มหาปริตตฎีกา พระเตโชทีปะ แต่งที่ประเทศพม่า
๒๓. โสตัตตกี พระจูฬพุทธโฆสะ วัดมหาวิหาร ประเทศลังกา แต่ง
๒๔. ตถาคตุปปัตติ พระญาณคัมภีร์ แต่งที่เมืองพุกาม
๒๕. พุทธโฆสุปปัตติ พระเถระเมืองพุกาม แต่ง
๒๖. อรหัตตมัคควัณณนา พระเถระเมืองพุกาม แต่ง
๒๗. วชิรสารัตถสังคหะ พระสิริรัตนปัญญา วัดเชตะวัน ทิศตะวันตกเมืองอังวะ แต่งเมื่อ
จ.ศ. ๘๘๘ ในรัชสมัยพระเจ้าโตหันภวา
๒๘. วชิรสารัตถสังคหฎีกา พระสิริรัตนปัญญา เมืองอังวะ แต่ง
๒๙. ราชินทราชนามาภิเธอยทีปนี พระเถระเมืองปันยะ แต่ง
๓๐. ราชินทราชนามาภิเธอยทีปนี ตองลีลา สยาดอ แต่ง
๓๑. ราชาธิราชนามัตถทีปนี พระญาณวระ แต่ง
๓๒. ราชินทราชสุธัมมจารทีปนี พระสังฆราช มองถ่องสยาดอ แต่ง
๓๓. ราชินทราชปุญญทีปนี พระสังฆราช สลิน สยาดอ แต่ง
๓๔. โลกทีปนี พระสังฆราชปตูจี หรือ ปตูจี สยาดอ แต่ง
๓๕. โลกุปปัตติปกาสินี พระอัคคปัญฑิตะ เมืองพุกาม แต่ง
๓๖. โลกทีปกสาระ พระเมธังกระ ประเทศพม่า แต่ง
๓๗. โลกบัญญัติ พระเถระลังกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๓๘.โลกวิทู ตองยภีลา สยาดอ แต่ง
๓๙. สังขยาปกาสกะ พระญาณวิลาสะ แต่งที่เชียงใหม่ ประเทศไทย
๔๐. สังขยาปกาสกฎีกา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งที่เชียงใหม่ ประเทศไทย
๔๑. กัมมัฎฐานทีปนี พระสารีบุตร ชาวลังกา แต่ง
๔๒. มังคลัถตถทีปนี พระสิริมังคลาจารย์ แต่งที่เชียงใหม่
๔๓. โอกาสทีปนี พระสังฆราชปตูจี หรือปตูจี สยาดอ แต่ง
๔๔. ฉคติปีทนี พระอสมโฆสาจารย์ แต่งที่ลังกา
๔๕. จันทสุริยคติทีปนี พระอสมโฆสาจารย์ แต่งที่ลังกา
๔๖. คัมภีร์บาลีไวยากรณ์มูลกัจจายนะ รูปสิทธิ โมคคัลลานะ และสัททนี เป็นต้น
๔๗.คัมภีร์อภิธาน คือ พจนานุกรมบาลี
๔๘. คัมภีร์วุตโตทัย
๔๙. คัมภีร์สุโพธาลังการ
๕๐. โลกิยปัณณาส หรือเชียงใหม่ปัณณาส มหาสามเณรผู้เชี่ยวชาญในคดีโลก และคดีธรรมแต่งที่เชียงใหม่ ประเทศไทยเชียงใหม่ปัณณาสนั้น ประเทศพม่านับถือมาก พม่าใช้เป็นบทเล่นละคร เพราะมีบทรัก
บทโศก บทร้องไห้ สามารถดัดแปลงเป็นบทละครจูงใจคนได้ดีมาก อรินทชาดก ในเชียงใหม่ปัณณาส พม่าได้ทำเป็นภาพยนตร์รวม ๓ ครั้ง คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังสงครามโลก และสมัยก่อนประเทศลังกาก็ทำเป็นภาพยนตร์เหมือนกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๗ พระเจ้าแผ่นดินลังกาพระนามว่าพระเจ้าทุติยวิมลธรรมสุริยะ ได้โปรดให้เขียนภาพชาดก ๕๕๐ ชาติ ก็ได้โปรดให้เขียนสุธรชาดกในเชียงใหม่ปัณณาส เมื่อประมาณ ๘-๙ ปีมาแล้ว ชาวอังกฤษคนหนึ่ง เที่ยวหาเชียงใหม่ปัณณาสในประเทศพม่า ได้ถ่ายภาพเชียงใหม่ปัณณาส จากใบลานไป และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ศาสตราจารย์ภาษาบาลีชาวเยอรมัน ได้มาประเทศพม่า เพื่อทำปทานุกรมบาลี มาได้ยินชื่อเชียงใหม่ปัณณาส ได้ซื้อเป็นจำนวน ๒ เล่ม

๑. คัมภีร์พระไตรปิฎก
๒. คัมภีร์อรรถกถา
๓. คัมภีร์ฎีกา
๔. คัมภีร์อนุฎีกา
๕. คัมภีร์มธุ
๖. คัมภีร์กนิฏฐคันถะ
๗. คัมภีร์คัณฐิ
๘. คัมภีร์คันถันตระ
๙. คัมภีร์โยชนา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

  • กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
  • อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
  • กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
  • พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
  • พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
  • สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
  • อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
  • Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.