ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

๔. คัมภีร์อนุฎีกา

คัมภีร์อนุฎีกา ได้แก่ ฎีกาใหม่ ที่แต่งเพิ่มเติมภายหลัง คำบาลีเรียกว่า อภินวฎีกา แปลว่า ฎีกาใหม่ มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้

อนุฎีกาวินัย มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้

๑. วินยาลังการฎีกาใหม่ พระมุนินทโฆสะ แต่งที่ประเทศพม่า
๒. ขุททกสิกขาฎีกาคัมภีร์ใหม่ เรียกว่า สุมังคลปสาทฎีกาก็ได้ พระสังฆรักขิตะ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๓. มูลสิกขาฎีกาคัมภีร์ เรียกว่า วิมติเฉทฎีกาก็ได้ พระสมันตคุณสาคระ แต่งที่เมืองวิชยะปุระ

อนุฎีกาพระสูตร มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้

๑. เอกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร ชาวลังกา แต่งที่ลังกา
๒. ทุกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๓. ติกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตรเถระ แต่ง
๔. จตุกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๕. ปัญจุกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๖. ฉักกังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๗. สัตตังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๘. อัฏฐังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๙. นวังคุตตรฎีกาใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๑๐. ทสังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตร แต่ง
๑๑. เอกาทสังคุตตรฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสารีบุตรี แต่ง
๑๒.ธัมมปทัฏฐกถาคัมภีร์ใหม่ พระวรสัมโพธชธิ แต่งที่ปุคันจี ประเทศพม่า
๑๓. เปฏกาลังการฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสังฆราช ญาณวังสะ ธรรมเสนาบดีแต่งที่พม่า

อนุฎีกาพระอภิธรรม มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้

๑. อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสุมังคละ แต่งที่ลังกา
๒. ปรมัตถวินิจฉยฎีกาคัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๓. นามรูปปริจเฉทฎีกาคัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๔. อภิธัมมาวตารฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสุมังคละ แต่งที่ลังกา
๕. สัจจสังเขปฎีกาคัมภีร์ใหม่ เรียกว่า สารัตถสาลินีฎีกา ก็ได้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

๑. คัมภีร์พระไตรปิฎก
๒. คัมภีร์อรรถกถา
๓. คัมภีร์ฎีกา
๔. คัมภีร์อนุฎีกา
๕. คัมภีร์มธุ
๖. คัมภีร์กนิฏฐคันถะ
๗. คัมภีร์คัณฐิ
๘. คัมภีร์คันถันตระ
๙. คัมภีร์โยชนา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

  • กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
  • อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
  • กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
  • พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
  • พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
  • สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
  • อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
  • Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.