ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
๖. คัมภีร์กนิฏฐคันถะ
กนิฏฐคันถะ แปลว่า คัมภีร์นิ้วก้อย มีคำอธิบายว่า อรรถกถาพระไตรปิฎก และฎีกาพระไตรปิฎกที่แต่งไว้เดิม เรียกว่า อรรถกถาใหญ่และฎีกาใหญ่ ส่วนอรรถกถาและฎีกาที่แต่งใหม่เรียกว่า อรรถกถานิ้วก้อย และฎีกานิ้วก้อย โดยใจความหมายเอาอรรถกถาเล็ก และฎีกาเล็ก
คัมภีร์นิ้วก้อย มี ๒ ประเภท คือ
๑. อรรถกถานิ้วก้อย คำบาลีเรียกว่า กนิฏฐอรรถกถา
๒. ฎีกานิ้วก้อย คำบาลีเรียกว่า กนิฎฐฎีกา
อรรถกถานิ้วก้อย มี ๒ อย่าง คือ
๑. อรรถกถานิ้วก้อยฝ่ายวินัย
๒. อรรถกถานิ้วก้อยฝ่ายพระอภิธรรมอรรถกถานิ้วก้อยฝ่ายพระสูตรไม่มี
ฎีกานิ้วก้อย มี ๒ อย่าง คือ
๑. ฎีกานิ้วก้อยฝ่ายวินัย
๒. ฎีกานิ้วก้อยฝ่ายอภิธรรม
อรรถกถานิ้วก้อยฝ่ายวินัย มีรายชื่อ ดังนี้
๑. วินยสังคหอรรถกถา พระสารีบุตร ชาวลังกา แต่ง
๒. วินยสังคหอรรถกถาคัมภีร์เล็ก พระสารีบุตร ชาวลังกา แต่ง
๓. วินยสังคหอรรถกถาคัมภีร์เล็ก ชินภูมิสยาดอ แต่งที่เมืองอังวะ
๔. วินยสังเขปอรรถกถา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๕. วินยวินิจฉยอรรถกถา พระพุทธทาส แต่งที่วัตกาวิลปัฏฏนะ คือ
วัดท่าเรือกาวิละในลังกา
๖. อุตตรวินิจฉยอรรถกถา พระพุทธทาส แต่ง
๗. ขุททกสิกขาอรรถกถา พระธรรมสิริ แต่งที่ลังกา
๘. มูลสิกขาอรรถกถา พระมหาสามิ แต่งที่ลังกา
๙. นิปุณปทสังคหอรรถกถา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๐. สีลาวหอรรถกถา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๑. สีมาลังการอรรถกถา พระวาจิสสระ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๑๒.สีมาสังคหอรรถกถา พระวาจิสสระ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๑๓.สิกขาปทวลัญชนอรรถกถา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
อรรถกถานิ้วก้อยฝ่ายพระอภิธรรม มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้
๑. อภิธัมมัตถสังคหะ หรือ อภิธัมมัตถสังคหอรรถกถา พระอนุรุทธาจารย์ หรือ
พระอนุรุทธะชาวอินเดีย แต่งที่วัดมูลโสมวิหาร หรือวัตตุมูลโสมวิหาร เมืองโปโลนารุวะ
ประเทศลังกาก่อน ค.ศ. ๑๐๐ ปี คือ คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ มีอายุแก่กว่าพระเยซู ราว
๑๐๐ ปี พระอนุรุทาจารย์แต่ง อภิธัมมัตถสังคหะ
โดยคำอาราธนาของอุบาสกสูงศักดิ์ท่านหนึ่ง นามว่า นับพะหรือนัมปะ
ผู้มีใจกรุณาปรารถนาจะอนุเคราะห์ปัจฉิมชน คนรุ่นหลัง
ให้ความสะดวกในการเล่าเรียนพระอภิธรรมปริยัติศาสนา วัตตุโสมวิหาร
หรือวัดมูลโสมวิหาร เป็นวัดสิงหล มีเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ไร่ เชื่อกันว่าพระนางโสมเทวี
พระราชินีของพระเจ้าวัฏฏคามินี สร้างก่อน ค.ศ. ๘๘ ปี
๒. ปรมัตถวินิจฉัย หรือ ปรมัตถวินิจฉัยอรรถกถา พระอนุรุทธาจารย์ แต่ง
๓. นามรูปปริจเฉท หรือ นามรูปปริจเฉทอรรถกถา พระอนุรุทธาจารย์ แต่ง
๔. อภิธัมมาวตาร หรือ อภิธัมมาวตารอรรถกถา พระพุทธทาส แต่งที่ลังกา
๕. รูปารูปวิภาค หรือ รูปารูปวิภาคอรรถกถา พระพุทธทาส แต่งที่ลังกา
๖. เขมาปกรณ หรือ เขมาปกรณ์อรรถกถา พระเขมา แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๗. โมหวิจเฉทนี หรือ โมหวิจเฉทนีอรรถกถา พระมหากัสสปะ ชาวลังกา แต่ง
ฎีกานิ้วก้อยฝ่ายวินัย มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้
๑. วินยสังคหฎีกาคัมภีร์เก่า พระสารีบุตร ชาวลังกาแต่ง มิใช่พระสารีบุตร
ที่เป็นอัครสาวก
๒. วินยาลังการฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระมุนินทโฆสะ แต่งที่ประเทศพม่า
๓. ขุททสิกขาฎีกาคัมภีร์ พระเรวตะแต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๔. ขุททกสิกขาฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสังฆรักขิตะ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสุมังคลปสาทนีฎีกา ก็ได้
๕. มูลสิกขาฎีกาคัมภีร์เก่า พระวิมลสาระ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๖. มูลสิกขาฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสมันตคุณสาระ แต่งที่เมืองวิชยปุระ เรียกว่า
วินยวิมติจเฉทฎีกา
๗. วินยวินิจฉยฎีกา พระมหาอุปติสสะ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วินยัตถสารสันทีปนีฎีกา ก็ได้
๘. อุตตรวินิจฉยฎีกา พระมหาอุปติสสะ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๙. สีมาลังกาฎีกา พระสัทธัมมโชติปาละ แต่งที่เมืองอริมัททนะ คือพุกาม
๑๐. สีมาลังการฎีกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๑. วินยสังเขปฎีกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
ฎีกานิ้วก้อยฝ่ายพระอภิธรรม มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้
๑. อภิธัมมัตถสังคหฎีกาคัมภีร์เก่า พระนววิมละ ศิษย์พระสารีบุตร
แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๒. อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา พระสุมังคละ หรือ พระสุมังคลาจารย์
แต่งที่เมืองปุลัตถินคร ปัจจุบัน เรียกว่า เมืองโปโลนารุวะ ใช้เวลาแต่ง ๒๔ วันจบ
คณะสงฆ์ไทยได้ใช้อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา เป็นหลักสูตรชั้นประโยค ป.ธ. ๙
อภิธัมมัตถวิภาวินี เป็นวรรณกรรมภาษาบาลีสมัยกลางรุ่นหลัง หนังสือศาสนลังการ
เรียกชื่อ อภิธัมมัตถวิภาวินี ๓ ชื่อ คือ ฎีกาเละตั๊ง ๑ ฎีกาละ ๑ ฎีกาจอ ๑
ฎีกาเละตั๊ง แปลว่า ฎีกานิ้วก้อย ฎีกาละ แปลว่า ฎีกาสวย คือประโยคสวยมาก ฎีกาจอ
แปลว่า ฎีกาชื่อดัง ฎีกาเรืองนาม พระมหาอริยวังสะ
เรียนฎีกานี้แล้วมีชื่อเสียงโด่งดัง
๓. สังเขปวัณณนาฎีกา พระสัทธัมมโชติปาละ แต่งทีเมืองอริมัททนะ คือเมืองพุกาม
๔. มณิสารมัญชุสาฎีกา คัมภีร์นี้เป็นฎีกาอภิธัมมัตถวิภาวินี
เป็นกุญแจของอภิธัมมัตถวิภาวินีพระอริยวังสะ หรือพระมหาอริยวังสะ แต่งที่เมืองสกาย
พม่าภาคเหนือ คัมภีร์มณิสารมัญชุสา นั้น พระอริยวังสะ ได้แต่งโดยคำอาราธนาของ
เยงุงสะยาดอ คืออาจารย์อมน้ำ ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน
๕. อเผคคุสารทีปนีฎีกา พระติปิฎกเถระ เมืองหงสาวดี แต่งฎีกานี้ เรียกว่า จุฬฎีกา
๖. ปรมัตถวินิจฉยฎีกาคัมภีร์เก่า พระมหาโพธิ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๗. ปรมัตถวินิจฉยฎีกาคัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๘. นามรูปปริเฉทฎีกาคัมภีร์เก่า ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๙. นามรูปปริเฉทฎีกาคัมภีร์ใหม่ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๐. อภิธัมมาตารฎีกาคัมภีร์เก่า พระวาจิสสระแต่ง ที่เมืองอนุราธปุระ
๑๑. อภิธัมมาตารฎีกาคัมภีร์ใหม่ พระสุมังคละ แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๑๒. รูปารูปวิภาคฎีกา ไม่ปรากฏผู้แต่ง
๑๓. เขมาฎีกา พระมหาโพธิแต่ง
๑๔. นามจารทีปกฎีกา พระสัทธัมมโชติปาละ แต่งที่เมืองพุกาม
๑๕. โมหวิจเฉทนีฎีกา พระมหากัสสปะ แต่งที่ลังกา
๑๖. ปรมัตถพินทุฎีกา พระมหากัสสปะ ชาวพม่า แต่งที่พุกาม
๑๗. สัจจสังเขปฎีกาคัมภีร์เก่า พระวาจิสสระ แต่ง
๑๘. สัจจสังเขปฎีกา หรือ สารัตถสาลินีฎีกา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
๑๙. ปรมัตถทีปนฎีกา เป็นคัมภีร์อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ และอภิธัมมัตถวิภานี
เป็นวรรณกรรมภาษาบาลีรุ่นปัจจุบัน อาจารย์เลดี หรือพระญาณเถระ แต่งที่ประเทศพม่า
ฎีกาคัมภีร์นี้ได้สร้างความรู้สึกตื่นเต้นใหม่บางประการขึ้นในวงการพระอภิธรรม
ความเห็นในอภิธัมมัตถวิภาวินีได้ถูกค้านทุกปริจเฉท
และได้ระบุชื่ออภิธัมมัตถวิภาวินีไว้รวม ๑๗๔ ครั้ง
๒๐. อังกุรฎีกา ท่านจัดเป็นสังคหมหาฎีกา เป็นหนังสือประมาณ ๔๔๒ หน้า
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎก
๒. คัมภีร์อรรถกถา
๓. คัมภีร์ฎีกา
๔. คัมภีร์อนุฎีกา
๕. คัมภีร์มธุ
๖. คัมภีร์กนิฏฐคันถะ
๗. คัมภีร์คัณฐิ
๘. คัมภีร์คันถันตระ
๙. คัมภีร์โยชนา
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
- กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
- อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
- กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
- พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
- พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
- พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
- สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
- อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
- Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.