เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงดูแม่พันธุ์โคเนื้อและโคแรกเกิดถึงหย่านม

กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์

การทำเครื่องหมายโค

เกษตรกรไทยไม่นิยมทำเครื่องหมายโคเพราะยังไม่เห็นความสำคัญเพราะอาจจะมีการเลี้ยงโคกันจำนวนน้อย แต่การเลี้ยงโคหลายตัวการทำเครื่องหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะจำช่วยในการจดบันทึกทำทะเบียนประวัติ ทำให้การจัดการเลี้ยงดูโคถูกต้อง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการปลอมแปลงสัตว์ได้ การทำเครื่องหมายโคมีอยู่หลายวิธีด้วยกันเช่น

  1. การใช้โซ่ห้อยคอแล้วแขวนด้วยเบอร์พลาสติก
  2. การลัดใบหู การติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู การติดเบอร์โลหะที่ใบหูและการขลิบใบหู
  3. การทำห่วงคล้องที่จมูก
  4. การตีตรา ซึ่งใช้ความร้อนและความเย็น

แต่ที่นิยมทำกันคือ การตีตราด้วยความร้อน โดยทำเลขเบอร์ด้วยโลหะนำไปเผาไฟจนร้อนแดงทิ้งไว้ให้ลดความร้อนลงจนโลหะเป็นสีเทาแล้วนำไปทาบลงบนผิวหนังของโค ตรงบริเวณที่จะตีตรา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณสะโพก ถ้าโคดิ้นมากควรยกเหล็กออกก่อน เพื่อไม่ให้เหล็กตีเบอร์ลื่นจะทำให้เป็นแผลลอกออกเป็นแผ่น จี้เหล็กตีตราประมาณ 3-5 วินาที พอเห็นว่ารอยแผลเป็นสีดำ ขนไหม้ ไม่ควรจี้นานเกินไปจะทำให้โคเป็นแผลอักเสบได้ง่าย เมื่อจี้แล้วใช้น้ำมันพืชทาชะโลมแผลอาจใช้ยากันแมลงวันผสมลงไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันมาตอมแผลหรือรบกวนให้รำคาญ

การตีตราควรบังคับโคให้อยู่ในซอง หรือมัดขาโคทั้งสีขาป้องกันโคดิ้นเพราะความเจ็บปวดซึ่งถ้าผู้ทำไม่ชำนาญรอยแผลจะเลือนจนอ่านไม่ค่อยออก การตีตราเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว ทำให้แม่โคไม่เจ็บปวดเหมาะกับผู้ที่เลี้ยงโคจำนวนมากต้องลงทุนสูง และวิธีใช้ค่อนข้างยุ่งยาก

» อวัยวะสืบพันธุ์ของโคตัวเมีย
» เลือกวิธีผสมพันธุ์โคแบบใดดี
» การตั้งท้อง
» อาหารแม่โคอุ้มท้อง
» การคลอด
» อาการผิดปกติหลังคลอด
» การเลี้ยงดูลูกโคหลังคลอด
» การหย่านม
» การเลี้ยงดูแม่โค
» การทำเครื่องหมายโค
» การทำลายเขาโค
» การตอนโค
» การเลี้ยงดูโครุ่นที่อย่านมแล้ว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย