ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ จำนวน 51 เกาะ แบ่งออกได้เป็น 2
กลุ่มคือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี กระจายกันอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา
ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นเกาะใต้สุดของประเทศไทย พรมแดนต่อเนื่องกับเกาะลังกาวี
ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างจากปลายเกาะตะรุเตาเพียง 4.8 กิโลเมตร
อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 1,490 ตรางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 1,264 ตรางกิโลเมตร
เกาะตะรุเตา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2517
นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8 ของไทย และในปี พ.ศ. 2525
ก็ได้รับการยกย่องให้เป็น ASEAN Heritage Parks and Reserves
เกาะตะรุเตา มีรูปลักษณะยาวเรียวในแนวเหนือ-ใต้ จุดสูงสุดจากระดับน้ำทะเลประมาณ 725
เมตร ชายฝั่งด้านตะวันตก ส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชัน หลากสี สลับกับหาดทรายขาว
และมีอ่าวพันเตมะละกา ซึ่งมีหาดทรายสวยงาม บริเวณรอบ ๆ เกาะมีเกาะเล็ก ๆ อยู่มากมาย
เกาะอาดัง-ราวี เป็นภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ มีหาดทรายยาวขาวสะอาดสวยงาม ใต้น้ำมีปะการัง
และพืชพันธุ์ไม้น้ำนานาชนิด ชายฝั่งมีโขดหินและหน้าผาสลับซับซ้อน บริเวณรอบ ๆ
มีเกาะอื่นที่สวยงามเช่นกัน
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา มีความหลากหลายของสังคมพืชเป็นอย่างมาก
มีพรรณไม้นานาชนิดขึ้นอยู่ตามนิเวศน์ที่เหมาะสม เช่น ไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ
และบรรดาเถาวัลย์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่ในป่าดงดิบร่วมกับพรรณไม้อื่นที่ชอบความชุ่มชื้นมาก
ส่วนต้นหูกวาง โพทะเล จิกทะเล เตย และผักบุ้งทะเล จะขึ้นอยู่บริเวณชายหาด
บริเวณริมคลองและอ่าวที่มีดินเลน
หมู่ไม้ที่สามารถดำรงชีพอยู่ในบริเวณที่มีน้ำทะเลขึ้นลง
หรือท่วมถึงเป็นป่าไม้ชายเลน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกาง โปรง แสม ตะบูน
และจาก เป็นต้น
เกาะตะรุเตาและหมู่เกาะอาดัง-ราวี เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ กระจง หมูป่า งูเหลือม เหี้ย ตะกวด เต่าหับ กบ เขียด นกแก็ก นกกาฮัง เหยี่ยวแดง นกออก นกนางนวล นกนางแอ่น นกยางทะเล นกหัวโตขาดำ และนกทะเลขาแดงธรรมดา
ในท้องทะเลบริเวณนี้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาทู ปลาอินทรี ปลาทูน่า ปลาโลมา
ปลาวาฬ เต่าทะเล ปู กุ้ง หอย และปลาหมึกชนิดต่าง ๆ ในแนวปะการังจะพบ ปลาปากแตร
ปลาการ์ตูน ปลานกแก้ว หอยมือเสือ ปลาผีเสื้อ ปลาฉลามหูดำ ปลาโนรี ปลานกขุนทอง
เต่ากระ เต่าสังกะสี ดาวทะเล เป็นต้น ส่วนสัตว์น้ำที่หากินอยู่บริเวณพื้นทรายมี
ปลากะพงแดง ปลากระเบน และหอยเม่นเป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา มีหาดทรายขาวสะอาด และสวยงาม
เหมาะแก่การเล่นน้ำทะเล และกางเต้นท์พักแรม จุดชมวิวบนผาโต๊ะบู คลองพันเตมะละกา
อ่าวเมาะและ อ่าวสน อ่าวตะโละวาว อ่าวตะโละอุดัง ถ้ำจระเข้
เกาะกลางและเกาะไข่ อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 25
กิโลเมตร เกาะทั้งสองนี้อยู่เคียงคู่กัน มีหาดทรายที่ขาวสะอาดสวยงาม
มีซุ้มประตูหินอันเป็นปฏิมากรรมธรรมชาติ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอุทยานแห่งนี้
ที่เกาะไข่ยังเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลอีกด้วย
เกาะอาดัง หาดทรายที่แหลมสนเหมาะแก่การพักแรม ชมความงามของทัศนียภาพ
มีจุดชมวิว และน้ำตกหลายแห่ง
เกาะหลีเป๊ะ ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะอาดังประมาณ 1 กิโลเมตร
เป็นเกาะที่มีชาวเลอาศัยอยู่ตั้งแต่ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ
ชาวเลเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีชีวิตเร่ร่อน ย้ายถิ่นฐานไปตามหมู่เกาะต่าง ๆ
ในแหลมมะลายู ระหว่างประเทศพม่าไปจนถึงอินโดนีเซีย มีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ
เกาะหินงาม อยู่เลยเกาะอาดังไปทางทิศตะวันตกไม่ไกลนัก
เกาะนี้จุดเด่นอยู่ที่หาดหิน ก้อนหินมีลักษณะกลมรี มีหลายขนาดด้วยกัน
ผิวเกลี้ยงเกลาเป็นเงาวับ เมื่อคลื่นซัดเข้าฝั่งจะเห็นสีของหินสลับริ้วลายงามตา
หมู่เกาะอาดัง-ราวี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแนวประการัง
และทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล เหมาะแก่การดำน้ำชมประการัง
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร
อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
อุทยานแห่งชาติหาดทรายรี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกธารเสด็จ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติกระบุรี
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน