ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
อุทยานแห่งชาติทางทะเล
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
เมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้ประกาศให้พื้นที่ชายฝั่ง และพื้นน้ำทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร จากฝั่งทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะภูเก็ต ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่าสนทะเล ป่าเขารวก ป่าเขาเมือง หาดในยาง หาดในทอน ในท้องที่ตำบลไม้ขาว ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รวมพื้นที่ 90 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติให้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติหาดในยาง
ในปี พ.ศ. 2533 ได้ทำการผนวกพื้นที่ราชพัสดุบริเวณท่าฉัตรไชย อำเภอถลาง
เพิ่มเติมให้อุทยานแห่งชาติ ในยางเพื่อน้อมเกล้า ฯ
ถวายเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2535 และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติในยางใหม่ว่า อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งนี้ประกอบด้วยผืนน้ำถึงประมาณร้อยละ 76 และพื้นดินร้อยละ 24
ลักษณะพื้นที่ ยาวไปตามชายฝั่งทะเลประมาณ 23 กิโลเมตร
โดยแนวเขตในทะเลห่างออกไปจากฝั่งประมาณ 5 กิโลเมตร
พรรณไม้ พื้นที่ป่าธรรมชาติในเขตอุทยาน มีทรัพยากรชีวภาพทางบกไม่หลากหลายนัก
ชนิดป่าในอุทยานมีเพียง 3 ชนิดคือ ป่าดงดิบ ป่าชายหาด และป่าชายเลน
ป่าดงดิบ พบอยู่ในบริเวณป่าเขารวกและป่าเขาเมือง มีขนาดพื้นที่ไม่มากนัก
ไม้ที่พบมีไม้ตะเคียน ไม้ยาง ไม้หลุมพอ และพิกุลป่า เป็นต้น
ป่าชายหาด เป็นป่าโปร่งพบอยู่ทั่วไปตามแนวหาด มีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร
พันธุ์ไม้หลักใน ป่าชายหาดที่พบโดยทั่วไปประกอบด้วย สนทะเล โพทะเล หูกวาง จิกเล
เสม็ด หว้า โสก ลำเจียก ผักบุ้งทะเล ลิ้นห่าน และครามป่า
ป่าชายเลน เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ พบทั่วไปบริเวณคลองน้ำจืด ที่น้ำทะเลท่วมถึง เช่น
ปากคลองท่านุ่น และคลองอู่ตะเภา มีขนาดประมาณ 1.3 ตารางกิโลเมตร
นับว่าเป็นป่าชายเลนธรรมชาติผืนใหญ่ผืนสุดท้าย ของจังหวัดภูเก็ต
พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว โปรงแดง ตะบูนขาว ตะบูนดำ
แสมฝาดดอกขาว ฝาดดอกแดง ถั่ว เถาถอบแถบ
ในป่าดงดิบจะมีพวกนกและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด
ในป่าชายหาดจะเป็นที่อยู่อาศัยของนกชนิดต่าง ๆ เช่น นกกางเขนบ้าน นกเอี้ยงสาริกา
นกแซงแซว นกเขาใหญ่ นกปรอด นกขมิ้นท้ายทอยดำ บริเวณชายหาดจะมี ปูต่าง ๆ จักจั่นทะเล
และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล ซึ่งจะขึ้นมาวางไข่ในห้วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ที่ป่าชายเลนจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพาะพันธุ์
หลบภัยของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น นกนางนวลแกลบสีกุหลาบ นกกินเปียว
นกชายเลนปากแอ่น นกอีก๋อยเล็ก นกกวัก นกอัญชันอกเทา นกออก เหยี่ยวแดง เหี้ย งูกะปะ
ปลาเก๋า ปลากระบอก ปลาจวด ปลาตีน ปลาหัวตะกั่ว ปลากด กุ้ง หอย และปู เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
คือชายหาดที่มีความร่มรื่นด้วยทิวสนธรรมชาติและ พรรณไม้ป่าชายหาดที่ร่มรื่น
มีชายหาดสวยงามขาวสะอาดยาวต่อเนื่องถึง 13 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลประกอบ
ไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้น อันเป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิด
หาดทรายแก้วและท่าฉัตรไชย อยู่บริเวณสะพานสารสินและสะพานเทพกษัตรี
ซึ่งเชื่อมจังหวัดภูเก็ต กับจังหวัดพังงาที่บ้านท่าฉัตรไชย
มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ต่อจากผืนป่าโกงกาง หาดทรายแก้ว
ซึ่งทอดโค้งสู่หาดไม้ขาว เป็นหาดที่สวยงามและเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน
หาดไม้ขาว เป็นหาดที่ยาวที่สุดในจังหวัดภูเก็ต แนวหาดเริ่มจากหาดในยาง
ผ่านสนามบินไปจนจด หาดทรายแก้ว มีทรายขาวติดต่อกันตลอดเกือบเป็นเส้นตรง
เป็นหาดที่มีจักจั่นทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลตัวเท่าแมลงทับ เปลือกและขาเหมือนกุ้ง
โดยเฉพาะไข่เหมือนกุ้งมาก จักจั่นทะเลมีสีกลมกลืนกับสีของหาดทราย
หาดในทอน ลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวที่งามแปลกตา
ลักษณะเป็นหาดทรายขาวยาวทอดโค้งออกจากตัวเกาะ
เป็นเกาะที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี
นับเป็นมุมสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำทะเล
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ประมาณ 231
ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เกาะแก่งด้านนอกฝั่ง
นับจากปากอ่าวทางด้านเหนือ ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
มีหาดทรายขาว น้ำใส ถ้ำสวย มีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ทอดเชื่อมระหว่างเกาะ
มีคุณค่าทางนิเวศน์วิทยาอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งอาศัยของสรรพชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
โดยเฉพาะ พะยูน สัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
คำว่า เจ้าไหม ใช้เรียกได้ทั้งหมู่บ้าน ลำคลอง หาดทราย ถ้ำ ภูเขา เกาะ
รวมทั้งอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ พื้นที่ชายฝั่งทะเล
รวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะเจ้าไหม เกาะเมง
พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137 ตารางกิโลเมตร
มีแนวปะการังเป็นบริเวณกว้างตามไหล่เกาะ ที่มีความลาดชันสูง
บริเวณเกาะต่าง ๆ ในอุทยาน รวมทั้งพื้นที่ชายฝั่งทะเล
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสังคมของพืชป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าเขาหินปูน
มีพันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ยาง หลุมพอ ตะเคียนหิน โกงกาง ตะบูน ถั่ว โปรง หูกวาง
สนทะเล โพทะเล จันทน์ผา เป็งทะเล และสลัดได เป็นต้น
แหล่งสังคมของพืชน้ำที่สำคัญคือ
หญ้าทะเลที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายของพืชและสัตว์ ในทะเลเป็นที่หลบภัย
แหล่งอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง เต่า เป็นแหล่งอาหารของ พะยูน
หญ้าทะเลที่พบมี 8 ชนิด ได้แก่หญ้าผมนาง หญ้าชะเงาเขียวปลายแฉก
หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว หญ้าใบสน หญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบยาว
และหญ้าใบมะกรูด
สัตว์ที่พบในบริเวณอุทยานได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า ลิ่น นกกระสาคอดำ นกกระยางเขียว
นกยางทะเล นกออก แย้ เหี้ย จงโคร่ง ฯลฯ
แหล่งท่องเที่ยว
ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน เป็นระยะปลอดมรสุม
เป็นห้วงเวลาที่เหมาะที่จะมาเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติ หาดเจ้าไหม
ซึ่งจะได้พบกับธรรมชาติที่น่าสนใจหลายรูปแบบ
บ่อน้ำร้อน ตั้งอยู่บริเวณตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง
น้ำในบ่อมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ฟองพรายน้ำที่ผุดพลุ่งขึ้นมา
เป็นครั้งคราว จะมีกลิ่นกำมะถันจาง ๆ แทรกขึ้นมาด้วย
เกาะเจ้าไหม ห่างจากตัวจังหวัดตรังประมาณ 60 กิโลเมตร
ตามชายทะเลมาทางปากเม็ง เกาะเจ้าไหม ถูกโอบล้อมด้วยทะเลด้านหนึ่ง
และลำคลองอีกด้านหนึ่ง มีเขารูปกระโดงฉลามโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์
ห่างจากเขากระโดงฉลามมาประมาณ 5 กิโลเมตร ไปจรดหาดหยงหลิงเป็นหาดยาว
และความกว้างขวางเหมาะแก่การพักแรม แต่หาดนี้น้ำลึกและคลื่นจัด
จึงควรระวังในการเล่นน้ำทะเล ถัดเข้าไปเป็นชายหาดที่ทอดไปทางตะวันตก เรียกว่า
หาดเจ้าไหม เป็นบริเวณน้ำตึ้น จึงเหมาะในการเล่นน้ำทะเล เบื้องหน้าจะเห็นเกาะลิบง
อยู่ไม่ไกลนัก บนชายหาดเป็นดงสนร่มรื่นสุดชายหาด คือ โขดเขาอีกด้านหนึ่ง
ของเขากระโดงฉลาม ในขณะน้ำลงอาจเดินลัดเลาะโขดหินไปสู่เวิ้งอ่าว เล็ก ๆ
อีกแห่งหนึ่งชื่อ อ่าวปอ ลึกเข้าไปตามคลองเจ้าไหม เป็นที่ตั้งของถ้ำเจ้าไหม
สามารถแล่นเรือไปถึงปากถ้ำได้ ถ้ำเจ้าไหมมีหลายชั้นซับซ้อน ชั้นล่างเป็นถ้ำกว้าง
มีหินงอกหินย้อยเหมือนเสาขนาดใหญ่ ถ้ำชั้นบนต้องปืนหน้าผาขึ้นไปทางขวาอีกประมาณ 100
เมตร ตามผนังถ้ำมีลักษณะเหมือนเปลือกหอย เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
และมีแอ่งน้ำใสเย็นก่อนเข้าสู่ถ้ำชั้นใน
หาดหยงหลิง-หาดสั้น อยู่ทางด้านทิศใ่ต้ต่อจากหาดยาว
เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสน ชื่อว่า หาดหยงหลิง
สุดชายหาดเป็นเขาสูงเต็มไปด้วยเวิ้งและโพรงถ้ำ
สามารถเดินลัดเลาะออกไปสู่หน้าผาริมทะเลได้ ห่างไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร
มีชายหาดอีกแห่งหนึ่งคนละฟากเขาชื่อ หาดสั้น และไกลออกไปทางทิศเหนือ คือ แหลมหยงลำ
เกาะมุกต์ อยู่ในตำบลลิบง อำเภอกันตัง
เป็นเกาะใหญ่เกาะหนึ่งในน่านน้ำจังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ร้อยละ 80 เป็นภูเขายอดสูงสุด สูงประมาณ 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของถ้ำมรกต ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำน้ำ มีทางเข้าเป็นโพรงเล็ก
ๆ พอเรือลอดได้ในช่วงน้ำลง โพรงถ้ำแคบ คดเคี้ยว และมืด ยาวประมาณ 80 เมตร
น้ำทะเลสีใสมรกต หาดทรายขาวสะอาด ป่าบนเขาเป็นป่าดิบชื้น ใต้หัวแหลมเกาะมุกต์
เป็นป่าชายเลน ทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีปะการังอ่อนหลากสี
ทางด้านตะวันออกเป็นแนวหญ้าทะเล
เกาะกระดาน อยู่ห่างจากเกาะมุกต์ไปทางทิศตะวันตก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1
ชั่วโมง ตัวเกาะมีลักษณะเหมือนภูเขาห้าลูกติดต่อกันเป็นพืด มีพื้นที่ประมาณ 1.6
ตารางกิโลเมตร พื้นที่ร้อยละ 70 เป็นภูเขา จุดสูงสุดประมาณ 100 เมตร
จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีแนวปะการังตลอดชายฝั่งของเกาะ
มีปะการังอ่อนและกัลปังหา ทางด้านทิศใ่ต้ของเกาะ
เกาะเชือก เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ในวงล้อมของเกาะมุกต์ และเกาะกระดาน
ประกอบด้วยเกาะ 2 เกาะ อยู่ติดกันมีพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะโดด
ไม่มีพื้นที่ราบ จุดสูงสุด 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เกาะที่อยู่ด้านตะวันออกมีสัมปทานรังนก สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีปะการังแข็ง
ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล กัลปังหา สลับกันอยู่ตลอด
แนวชายฝั่งซึ่งมีปะการังค่อนข้างสมบูรณ์มาก บริเวณเกาะเชือกมีถ้ำตื้น ๆ
สามารถดำน้ำหรือนำเรือเข้าไปได้ในช่วงน้ำลง
เกาะแหวน มีพื้นที่ประมาณ 0.2 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุดประมาณ 220 เมตร
จากระดับน้ำทะเล เป็นเกาะที่มีสัมปทานรังนก สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น
มีดงปะการังทั้งน้ำตื้น และน้ำลึก ดอกไม้ทะเล กัลปังหา สลับกันตลอดชายฝั่ง
มีแนวปะการังค่องข้างสมบูรณ์ อยู่ในระดับความลึก 10-20 ฟุต ส่วนใหญ่อยู่ทางด้าน
ทิศตะวันออกของเกาะ ด้านทิศตะวันตก ระดับความลึก 60 ฟุต ไม่มีปะการังเลย
หาดฉางหลาง เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47
กิโลเมตร และห่างจากหาดเจ้าไหมประมาณ 16 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของหาดจรดเขาริมน้ำ
คือnเขาแบนะ มีร่องรอยภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ค่อนข้างลบเลือน
พื้นที่ชายหาดบริเวณเชิงเขา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่าง ๆ มีบ้ำน้ำจืด
เหมาะแก่การพักแรม ทางด้านทิศเหนือสุดของหาดคือ คลองฉางหลาง
บริเวณปากคลองมีทัศนียภาพที่หลากหลาย
หาดปากเม็ง เป็นหาดทรายชายทะเลแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกของจังหวัดตรัง
อยู่ห่างจากตัวเมือง 40 กิโลเมตร โขดเขาใหญ่หลางน้ำมีรูปร่างคล้าย
คนนอนหงายทอดยาวไปทางด้านเหนือคือเกาะเม็งหรือเกาะแมง เป็นสัญลักษณ์ประจำหาดนี้
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร
อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
อุทยานแห่งชาติหาดทรายรี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกธารเสด็จ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติกระบุรี
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน