ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

นมข้นหวาน

นมข้นหวาน (Sweetened Condensed Milk) คือนมที่ระเหยน้ำออกบางส่วนแล้วเติมน้ำตาลลงไปเพื่อรักษาไม่ให้นมบูดเน่า โดยอาศัยหลักที่ว่าน้ำตาลจะทำให้มี Osmotic pressure สูง แบคทีเรียส่วนมากจะไม่สามารถเจริญ และขยายพันธุ์ในน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นสูง ได้ปริมาณน้ำตาลในนมข้นหวานอยู่ในระหว่าง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณของไขมันในนมข้นหวานมีตั้งแต่น้อยมาก (นมข้นหวานชนิดหางนม) จนถึง 9 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเนื้อนมมีตั้งแต่ 22-28 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ำมีตั้งแต่ 24-27 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักสุทธิของนมข้นหวานหนึ่งกระป๋องหนัก 397 กรัม ส่วนประกอบของนมข้นหวานแตกต่างกันในแต่ละบริษัท โดยทั่วไปแล้วนมข้นหวานที่มีปริมาณไขมันต่ำจะมีราคาถูกกว่านมที่มีปริมาณไขมันสูง ชนิดของไขมันก็ทำให้ราคานมข้นหวานแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต ถ้าต้นทุนการผลิตสูง ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย

ชนิดของนมข้นหวาน

นมข้นหวานได้มาจากกรรมวิธีที่ต่างกันอย่างน้อยสองวิธี วิธีหนึ่งคือใส่น้ำตาลลงในนมสดแล้วระเหยน้ำออกจนเป็นนมข้นหวาน อีกวิธีหนึ่งคือเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ของนมซึ่งแยกกันอยู่ เช่น น้ำมันเนย นมผงและน้ำมารวมกัน เติมน้ำตาลลงไปแล้วระเหยน้ำส่วนที่เกินออกเสียบ้าง วิธีนี้เรียกว่า Recombined หรือ Reconstituted milk

นมข้นหวานมีหลายชนิดพวกที่ไม่มีไขมันเรียกว่า นมข้นหวานหางนมหรือ Sweetened Condensed Skim milk พวกที่มีไขมันเนย 8-9 เปอร์เซ็นต์ เรียก Sweetened Condensed Full Cream Milk นมข้นหวานที่ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันเนยเรียก Sweetened Condensed Full Milk

ประโยชน์ของนมข้นหวาน

การใช้นมข้นหวานของคนไทยบางครั้งใช้เป็นของหวาน เช่น ใช้ขนมปังหรือข้าวหลามจิ้มนมข้นหวาน หรือใช้นมข้นหวานราดไปบนขนมซึ่งใส่น้ำแข็ง เมื่อจะใช้นมข้นหวานชงเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา หรืออื่น ๆ เราก็มักใส่นมข้นหวานลงไปมาก ๆ การบริโภคนมข้นหวานเป็นจำนวนมากนี้เนื่องจากผู้บริโภคส่วนมากเป็นผู้ที่ต้องใช้แรงงาน เมื่อกินของหวานเข้าไปก็รู้สึกสดชื่นมีเรี่ยวแรง เพราะนมข้นหวานเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ก็ไม่เป็นอาหารที่สมบูรณ์ (unbalance) นอกจากจะเติมนมผงหรือน้ำนมถั่วเหลืองลงไปในนมข้นหวาน

ประโยชน์ของนมข้นหวานนอกจากจะใช้บริโภคโดยตรงแล้ว ยังใช้ในการทำขนมอบต่าง ๆ ทำไอศกรีม ทำลูกกวาด ทำขนมพาย เอแครและน้ำสลัดชนิดครีม (Mayonnaise) ได้อีกด้วย

นมข้นหวาน 1 ช้อนชา (ตักแบบร้านกาแฟ) หนักโดยเฉลี่ย 15.7 กรัม มีคุณค่าทางอาหารดังนี้

  • พลังงาน 62.3 คาลอรี่
  • โปรตีน 1.2 กรัม
  • วิตามิน เอ 111 หน่วยสากล
  • วิตามิน ดี 11.55 หน่วยสากล
  • วิตามิน บี 1 0.0774 มิลลิกรัม

นมชง 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) ถ้าใช้นมข้นหวาน 3 ช้อนชา (ตักอย่างรวดเร็วแบบร้านกาแฟไม่ได้ตวง) จะมีคุณค่าดังนี้

  • พลังงาน 187 คาลอรี่
  • โปรตีน 3.6 กรัม
  • วิตามิน เอ 333 หน่วยสากล
  • วิตามิน ดี 34.65 หน่วยสากล
  • วิตามิน บี 1 0.2 มิลลิกรัม

นมโคสด 1 แก้วจะมีคุณค่าดังนี้

  • พลังงาน 170 คาลอรี่
  • โปรตีน 8.8 กรัม
  • วิตามิน เอ 160 หน่วยสากล
  • วิตามิน ดี 36 หน่วยสากล
  • วิตามิน บี 1 0.1 มิลลิกรัม

ที่มา: นมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ.2526,หน้า 97-98, ประกาย จิตรกร

กรดซิตริก
กระดาษสา
กระเจี๊ยบแดง
กล็อกซิเนีย
กล้วยร้อยหวี
เกลือแร่
แก๊สชีวภาพ
แกลดิโอลัส
เก๊กฮวย
กุหลาบ
การสเตอริไรส์
การสังเคราะห์แสง
ขนุน
ขิง (Ginger)
ไขมัน
ข้าว
ต้นข้าว
ดอกข้าว
รวงข้าว
คลอโรฟิลล์
คะตะเลส (Catalase)
คาร์เนชั่น
คาร์โบไฮเดรต
เคซีน (Casein)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท
แครอท
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จิบโซฟิลล่า
จุลินทรีย์
ซีไฟโคไซยานิน
ดินพรุ
ไม้ตะแบกเลือด
ตะไคร้
นม
นมข้นหวาน
นมดิบ
นมพาสเจอร์ไรส์
นมสด
นมสดปราศจากไขมัน
หางนม
นาดำ
นาหว่าน
น้ำตาล
เนยสด
เนยแข็ง
เนยแข็งปรุงแต่ง
เบญจมาศ
ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยหมัก
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เห็ดหลินจือ
เอนไซม์ (Enzymes)
เรนเนท (rennet)
โฮโมจิไนส์

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย