ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ซีไฟโคไซยานิน

ซีไฟโคไชยานิน เป็นรงควัตถุประกอบสีน้ำเงิน ซึ่งจัดอยู่ในพวกรงควัตถุประกอบ ประเภทไฟโคบิลิน (phycobilin) รงควัตถุประกอบประเภทนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ ซี-แอลโลไฟโคไซยานิน (c-allophycocyanin) และ ซี-ไฟโคอิริทริน (c-phycoerythrin) (การมีอักษรซีนำหน้าเป็นการชี้ว่าเป็นรงควัตถุที่อยู่ในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ไฟโคบิลินมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง ละลายได้ดีในน้ำ ไฟโคบิลินแต่ละชนิดจะอยู่รวมกับโปรตีนอย่างใกล้ชิดมาก กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเรียกว่า ไฟโคบิลิโปรตีน ในสาหร่ายเกลียวทอง ซี-ไฟโคไซยานินจะอยู่รวมกับไฟโคบิลิโปรตีนชนิดอื่น ๆ (ที่สำคัญคือ ซี-แอลโลไฟโคไซยานิน) กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไฟโคบิลิซัม (phycobilisomes) ซึ่งจะเกาะอยู่บนผิวด้านนอกของไทลาคอยด์ (thylakoid) ภายในไทลาคอยด์มีคลอโรฟิลด์เอบรรจุอยู่ ไฟโคบิลิซัมทำหน้าที่รับพลังงานรังสีจากแสงแล้วส่งให้แก่คลอโรฟิลล์เอ จากการที่ทำหน้าที่เป็นรคงวัตถุประกอบ ทำให้ไฟโคบิลิซัมมีปริมาณลดลง เมื่อความเข้มแสงเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Myers และ Kratz ที่พบว่า ไฟโคไซยานินจะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อมีแสงจำกัด นอกจากนี้ในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไฟโคไซยานินยังเป็นแหล่งสะสมไนโตรเจน ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ธาตุไนโตรเจนแก่เซลล์สาหร่ายในยามที่ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจน

ในการสกัดไฟโคไซยานินมวลของสาหร่ายเกลียวทองจะถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือ ไฟโคไซยานินที่ใช้เป็นสีผสมอาหาร และตัวบ่งชี้ทางชีวะ ส่วนที่เหลือจะเป็นส่วนที่มีโปรตีนสูง ใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำ ไฟโคไซยานินที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวะจะเป็นไฟโคไซยานินบริสุทธิ์ หรือเกรดวิเคราะห์ (reagent grade) การเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวะคือ เป็นตัวสืบค้นทางชีวเคมีในเรื่องการตรวจสอบภูมิคุ้มกันโรค การใช้กล้องจุลทรรศน์และการวัดเซลล์ ทั้งนี้เนื่องจากไฟโคไซยานินมีคุณสมบัติเรืองแสงได้ ประเทศที่มีการผลิตไฟโคไซยานินบริสุทธิ์มากกว่าประเทศอื่น ๆ คือ ประเทศอเมริกา จากข้อมูลของ Legault, Grysole และ Associes, Inc. ได้รายงานราคาขายของไฟโคไซยานินที่สกัดจากสาหร่ายเกลียวทองดังนี้คือ ไฟโคไซยานินที่ทำเป็นระดับอาหาร (ใช้เป็นสีผสมอาหาร) ซึ่งมีปริมาณ 20% ของน้ำหนักแห้ง มีราคาขาย 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ส่วนไฟโคไซยานินที่เป็นเกรดวิเคราะห์มีปริมาณ 7% ของน้ำหนักแห้ง มีราคาขาย 1,000-5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม

ที่มา : จากหนังสือวิทยานิพนธ์ "ผลของระดับความเข้มข้นต่างๆ ของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในสูตรอาหาร Zarrouk ต่อการเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง" โดย สุมาลี ดุลยอนุกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กรดซิตริก
กระดาษสา
กระเจี๊ยบแดง
กล็อกซิเนีย
กล้วยร้อยหวี
เกลือแร่
แก๊สชีวภาพ
แกลดิโอลัส
เก๊กฮวย
กุหลาบ
การสเตอริไรส์
การสังเคราะห์แสง
ขนุน
ขิง (Ginger)
ไขมัน
ข้าว
ต้นข้าว
ดอกข้าว
รวงข้าว
คลอโรฟิลล์
คะตะเลส (Catalase)
คาร์เนชั่น
คาร์โบไฮเดรต
เคซีน (Casein)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท
แครอท
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จิบโซฟิลล่า
จุลินทรีย์
ซีไฟโคไซยานิน
ดินพรุ
ไม้ตะแบกเลือด
ตะไคร้
นม
นมข้นหวาน
นมดิบ
นมพาสเจอร์ไรส์
นมสด
นมสดปราศจากไขมัน
หางนม
นาดำ
นาหว่าน
น้ำตาล
เนยสด
เนยแข็ง
เนยแข็งปรุงแต่ง
เบญจมาศ
ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยหมัก
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เห็ดหลินจือ
เอนไซม์ (Enzymes)
เรนเนท (rennet)
โฮโมจิไนส์

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย