สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

พระราชดำรัส : ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76

พระราชดำรัสตอบ พระบรมวงศานุวงศ์ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ
แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2421

ก็ในราชการทั้งปวง ตั้งแต่เฉลิมพระชนม์พรรษาครั้งก่อน ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวขึ้นในที่ประชุมมาจนถึงบัดนี้ การทั้งปวงก็ยังเป็นไปโดยเรียบร้อย .....

คือการในเมืองภูเก็ต ซึ่งเกิดขึ้นคราวก่อน เรียบร้อยเป็นปกติดีแล้ว ภายหลังก็มีเหตุบ้างเล็กน้อย เพราะข้าวขึ้นราคาดีบุกลงราคา เราก็ได้ยอมลดหย่อนพิกัดดีบุกให้พอสมควร แต่เห็นว่าในเมืองตะวันตก พวกจีนเข้าไปตั้งทำเหมืองแร่ดีบุก เป็นพวกเป็นเหล่ากัน มักจะมีเหตุอันตรายเกิดขึ้น ด้วยวิวาทกันแลกันบ่อย ๆ .....เห็นว่าจะต้องมีข้าหลวงใหญ่สำหรับบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันตกทั้งมวล เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นจะได้ระงับได้ทันท่วงที จึงเห็นว่ามีเมืองตรัง ..... ควรจะตั้งเป็นเมืองสำหรับข้าหลวงอยู่รักษา .....

อนึ่ง การจลาจลในเมืองเขมร ซึ่งคอเวอนแมนต์ของเราได้มีความร้อนใจ เพื่อจะรักษาทางพระราชไมตรีกรุงฝรั่งเศษนั้น เป็นการสำคัญ แต่บัดนี้ก็เห็นว่า นักองค์วัดถา อ่อนกำลังลงแล้ว ท่านแอดมิราล เมืองไซ่ง่อน แลผู้ครองเมืองเขมรคงจะจัดการปราบปรามให้เรียบร้อยไปได้..... แต่การในเมืองพระตะบอง เมืองนครเสียมราฐนั้น เห็นว่าพระยาคทาธรธรนินทร์ และพระยานุภาพไตรภพ ผู้ว่าราชการเมือง ก็เข้าใจราชการพอรักษาเมืองไม่ให้มีเหตุ เป็นที่วางใจได้

อนึ่ง เมื่อปีกลายนี้ ในพระราชอาณาเขตของเราต้องปิดข้าว เพราะฝนไม่บริบูรณ์ตามฤดู ราคาข้าวขึ้นไปกว่าปกติ แต่ในปีนี้ฝนที่กรุงเทพฯ แลต่อกรุงเก่า ก็ดูบริบูรณ์ดี.....

อนึ่ง เรื่องชำระความศาลต่าง ๆ ซึ่งได้จัดชำระเพื่อจะให้ความเบาบาง ตามซึ่งได้คิดจัดไว้แต่ปีกลายนี้นั้น ได้รับรายงานเสมอทุกเดือน.....

อนึ่ง ตำแหน่งที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งใหญ่สำคัญว่างลงในปีนี้ เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ สมควรจะทรงรับตำแหน่งนี้ได้ จึงได้มอบราชการในกรมมหาดไทย แลหัวเมืองขึ้นทั้งปวงถวายท่านทรงบังคับ.....

อนึ่ง เห็นว่าเมืองฉะเชิงเทรา เป็นเมืองตั้งอยู่ใกล้ปากน้ำบางประกง ต่อขึ้นไปตามลำน้ำนั้นเป็นเมืองปราจีนบุรี เมืองนครนายก ในพื้นที่เมืองเหล่านั้นเป็นท้องทุ่งที่ทำไร่นาได้มาก .....จึงได้ขุดคลอง ตั้งแต่คลองแสนแสบไปถึงคลองท่าไข่..... บัดนี้คลองนั้นก็ขุดเสร็จแล้วให้ชื่อว่า คลองนครเนื่องเขต ได้เปิดให้ราษฎรเดินไปมาแลจับจองที่นา..... ระยะทางตั้งแต่ลำธารวังน้ำเย็นมาตกถึงคลองบางไผ่ แขวงเมืองฉะเชิงเทราเป็นทาง400 เส้น เป็นที่ราษฎรประสงค์อยากจะให้ขุดคลองในที่นั้น ..... อนึ่งตั้งแต่ปลายคลองพระโขนง แขวงนครเขื่อนขัณฑ์ไปตกแม่น้ำบางปะกง แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ทาง 1150 เส้น ที่แผ่นดินเป็นที่อุดมดี ท้องทุ่งก็ว่างไม่มีลำคลอง ราษฎรไม่ได้ทำนา ..... จัดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์เป็นผู้ขุด

อนึ่ง คลองมหาสวัสดิ์ แลคลองภาษีเจริญ แขวงเมืองนครชัยศรี ซึ่งเป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุดขึ้นไว้นั้น ดูตื้นเสียไปทั้งสองคลอง ..... ถ้าขุดคลองในระหว่าง ให้ตลอดถึงกัน คงจะชักกับแก้ให้หายตื้นไปได้..... บัดนี้คลองนั้นก็สำเร็จแล้ว เป็นระยะคลองยาว 340 เส้น ให้ชื่อว่า "คลองทวีวัฒนา"..... แลบัดนี้ก็ยังได้ขุดต่อไป ..... ไปออกบ้านสี่พระยา แม่น้ำเมืองนครชัยศรี ระยะทาง 540 เส้น ด้วยเห็นว่าเป็นทุ่งว่างไม่มีไร่นา แลเป็นทางตรง สายน้ำจะเป่าลงมาในคลองทวีวัฒนาแรง ได้ลงมือขุดในเดือน 8 นี้แล้ว แลแขวงเมืองสุพรรณกับกรุงเก่าต่อกัน ที่นั้นทำนาเกือบจะต่อถึงกันแล้ว..... ถ้าการนี้สำเร็จทุ่งนาเมืองสุพรรณ กับแขวงกรุงเก่าก็เป็นอันติดต่อกัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย