สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การส่งสารด้วยการพูด
การพูดในกลุ่ม
เราควรที่พูดกันอย่างผูกมิตร คือ
ไม่ใส่อารมณ์ในการที่จะอภิปรายถกเถียงกัน และเรื่องที่นำมาอภิปรายควรจะสร้างสรรค์
หรือเป็นหัวข้อต่างๆมาเล่ากันฟัง แล้วมาร่วมพิจารณาร่วมกัน หลังจากอภิปรายกันเสร็จ
ต้องมีคนใดคนหนึ่งจดบันทึก ซึ่งจะอ่านปากเปล่าให้ฟัง
ว่าถูกต้องตามที่ได้พูดกันหรือไม่
1. การเล่าเรื่องราวที่ได้อ่านหรือฟังมา
มักจะเป็นการเล่าเนื้อหา หรือประเด็นที่สำคัญๆมากกว่าการให้รายละเอียด ซึ่งควรมีวิธีการดังนี้
- เล่าถึงเนื้อหา หรือประเด็นที่สำคัญๆว่ามีอะไรบ้าง
- ควรใช้ภาษาง่ายๆ ประโยคสั้น ง่ายต่อการเข้าใจ
- ใช้น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง
- ใช้กิริยาประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
- ผู้เล่าควรจำเรื่องให้ได้ เรียงลำดับเรื่องราวให้ถูกต้อง
2. การเล่าเหตุการณ์
ในชีวิตประจำวันของเรา มักจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้น ทั้งน่าสนใจ และไม่น่าสนใจ บางครั้งเราก็มีความจำเป็นที่จะเล่าให้ผู้อื่นฟัง การที่จะการเล่าเหตุการณ์ให้น่าฟังน่าสนใจ ประทับใจผู้ฟัง ผู้เล่าอาจมีวิธีเล่าดังนี้
- กล่าวเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลในการเล่าเหตุการณ์นั้นๆ
- ระบุวัน เวลา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ
- กล่าวถึงบุคคลที่สำคัญแก่เหตุการณ์นั้น
- เล่าเหตุการณ์ตามลำดับ ให้มีความต่อเนื่องกัน
- ใช้ถ้อยคำ และภาษาที่ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพ ใช้ภาษา สำนานและประโยคๆง่ายกะทัดรัดเพื่อจะได้สื่อความหมายได้ดี
จุดมุ่งหมายของการพูด
การพูดในแต่ละครั้ง จะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน
ผู้พูดจะต้องรู้จักจุดมุ่งหมายที่พูดได้อย่างถูกต้อง ตรงความต้องการของผู้ฟัง
นักพูดที่ดีจะต้องศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจความมุ่งและวัตถุประสงค์ที่จะพูด
แต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดตรงกับความมุ่งหมายที่วางไว้ โดยกำหนดได้ดังนี้
- การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟัง
การพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ
การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้
บางครั้งผู้พูดต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย
เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง การพูดแบบนี้
ผู้พูดจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายๆ
แบบเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส มีความคิดเห็นคล้อยตาม
หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดตั้งความมุ่งหมายไว้
- การพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจแก่ผู้ฟัง การพูดแบบนี้
ผู้พูดต้องเข้าใจว่าบรรยากาศในการพูด และความต้องการของผู้ฟัง
ซึ่งเป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิง
ควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่เล็กๆน้อยๆ
เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความนึกคิดของผู้ฟัง ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด
- การพูดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือคำตอบต่างๆกัน การพูดแบบนี้
ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูดได้เป็นอย่างดี
หรือสามารถตอบปัญหาต่างๆที่ผู้ฟังสงสัยอยากจะรู้อยากจะฟังจากผู้พูด
จึงเป็นการพูดในเชิงวิชาการ หรือในแนวทางขจัดปัญหาข้อสงสัยต่างๆ
ให้ปรากฏอย่างมีเหตุมีผล
บางครั้งก็เป็นการพูดเพื่อตอบปัญหาของผู้ที่มีความสงสัยถามปัญหาขึ้นมา
- การพูดเพื่อแนะนำและชี้แนะเรื่องต่างๆ การพูดแบบนี้ เป็นการพูดในเวลาจำกัดตามลักษณะเรื่องแนะนำและเวลาที่จะอำนวยให้ ส่วนมากเป็นการพูดแนะนำบุคคล แนะนำการปฏิบัติงานและลักษณะของงานที่ทำของหน่วยต่างๆ การพูดให้คำแนะนำมุ่งการพูดเพื่อให้ผู้ฟังทราบเฉพาะข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างย่อๆ
วิธีสื่อสารและการใช้ภาษาในการประชุม
การส่งสารด้วยการพูด
ถามและตอบให้มีประสิทธิผล
การพูดให้สัมฤทธิ์ผล