สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง
- ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการและสถาบันนิติบัญญัติ โดยรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมระบบราชการ เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายการจัดตั้งหน่วยราชการ
- ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการและฝ่ายตุลาการ ศาลเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาคดีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างหน่วยงานราชการ
- ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการและฝ่ายบริหาร ตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน โยนย้ายข้าราชการ และออกคำสั่งต่างๆ แก่ข้าราชการฝ่ายบริหาร
- ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการและประชาชน ประชาชนอเมริกันมีอำนาจในการควบคุมการปฏิบัติงานของระบบราชการ ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้หลายประการ ได้แก่
1. ปชช. สามารถควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการโดยผ่านสภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง
2. การควบคุมอาศัยอำนาจจากกฎหมาย 2 ฉบับที่สำคัญ คือ
- กฎหมายที่เรียกว่า Government is the Sunshine Act ซึ่งกำหนดว่า หน่วยงานราชการและกรรมการต่างๆ จะต้องฟังเสียงและความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประชุมต่างๆ ที่รัฐบาลจัดขึ้น
- กฎหมายที่เรียกว่า The Freedom of Information เป็นกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ต้องมีการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และเปิดเผยข่างสารข้อมูลมากขึ้น
ปัญหาและทิศทางในอนาคตของระบบราชการ
แม้ว่ากำเนิดของระบบราชการเกิดจากเจตนา เพื่อมุ่งให้การบริหารของระบบราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของระบบราชการ คือ (Burns, etal, 1995:443)
- ขลาดกลัวไม่กล้าตัดสินใจ
- อ่อนแอและมีบรรยากาศการทำงานที่เกียจคร้าน
- ขาดจิตนาการในการบริหารงาน
- การปฏิบัติงานงุ่มง่ามละล่าช้า
- ยึดติดกับกฎระเบียบที่เข้มงวด
- ตอบสนองความคิดใหม่ๆ ช้า
- ข้าราชการมักมีนิสัยประจบสอพลอ
- ยึดติดกับการใช้อำนาจ
- หยิ่งยะโสในการปฏิบัติงาน ชอบทำตัวอยู่เหนือประชาชน
จากปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันได้มีความพยายามมากมาย เพื่อปรับปรุงระบบราชการของอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีทิศทางที่ควรจะเป็นในอนาคตโดยสรุปได้ดังนี้
- ระบบราชการควรมีบทบาทหน้าที่เป็นเสมือนพี่เลี้ยงในการสนับสนุนให้เกิดกิจการต่างๆ ในสังคมมากกว่าเป็นผู้ลงมือปฏิบัติในทุกเรื่อง
- ควรเป็นระบบที่มีชุมชนเป็นเจ้าของและเป็นระบบที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ
- การปฏิบัติงานควรจะมีลักษณะของการแข่งขันในการให้บริการสาธารณะระหว่างกับเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกิดประสิทธิภาพในการให้บริการ
- การปฏิบัติงาน ควรเกิดจากแรงงผลักดันจากภาระกิจในการทำงานมากกว่าเกิดจากกฏระเบียบที่พยายามสร้างขึ้น
- ระบบราชการควรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากกว่าขั้นตอนการทำงาน
- ระบบราชการควรเน้นระบบมุ่งตอบสนองการเรียกร้องของผู้รับบริการมากว่าการตอบสนองต่อความต้องการของตัวระบบราชการและข้าราชการ
- ระบบราชการควรมีลักษณะการดำเนินงานแบบรัฐวิสาหกิจที่มุ่งการแสวงหารายได้มากกว่าการใช้จ่าย
- ควรเป็นระบบที่มีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตมากกว่าเป็นผู้ตอบรับปัญหาที่เกิดขึ้น
- ระบบราชการควรเป็นระบบที่มีการกระจายอำนาจจากส่วนบนลงสู่ระดับล่าง โดยเน้นให้ข้าราชการระดับ ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีลักษณะการทำงานเป็นทีม
- จะเห็นว่าการปฏิรูปที่มุ่งเน้นการลดบทบาทรัฐบาลกลาง แต่เพิ่มบทบาทของรัฐบาลมลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างจริงจัง
การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง