สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบบสหพันธรัฐ
( Federalism)
เป็นระบบที่ปกครองโดยรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ
การใช้อำนาจนั้นรัฐบาล ทั้งสองระดับมีอำนาจที่เป็นอิสระต่อกัน
แต่ละองค์การที่รับผิดชอบ หากปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
ไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบขององค์การอื่น แต่ในความมีอิสระ
ก็มีการร่วมมือกันเพื่อความเป็นเอกภาพของประเทศ
การพัฒนาการของระบบสหพันธรัฐ
พบว่าระบบสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกามิได้เป็นรูปแบบหยุดนิ่ง
มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลมาจากสถานการณ์ และปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อม แบบแบ่งแยก
- มีการกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ
- รัฐบาลกลางมีวัตถุประสงค์ในบางเรื่อง
- มีอำนาจอธิปไตยภายในขอบเขตของตน
- ความสัมพันธ์เป็นแบบ "ความกดดัน" ไม่ใช้ "ความร่วมมือ"
สถานการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- เกิดความขัดแย้งระหว่างมลรัฐ เป็นเรื่องภาษาระหว่างมลรัฐทางตอนเหนือและตอนใต้
- การตีความของศาลสูง ให้รัฐบาลกลางมีบทบาท ขอบเขตกว้างขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป มีความสำนึกความเป็นชาติมากขึ้น และความเจริญเติบโตของเมืองต่างๆ
- ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในสมัยของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี กูสเวลท์ ประกาศใช้นโยบาย New deal เพื่อแก้ปัญหา
แบบร่วมมือกัน ( Cooperative Federalism )
- เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20
- ปฏิเสธแนวคิดในเรื่องขอบเขต
- หน่วยงานระดับมลรัฐ และระดับชาติ ทำหน้าที่ของรัฐบาลร่วมกันมากขึ้น
- ชาติและมลรัฐมีอำนาจร่วมกันเป็นปกติธรรมดา
- อำนาจไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง
การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง