สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
กลุ่มผลประโยชน์อาจมีหน้าที่หลายอย่าง แล้วแต่จุดประสงค์ของสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ ได้แก่
- หน้าที่ในการกำหนดลักษณะเฉพาะของสมาชิก
กลุ่มจะจัดหาผลประโยชน์มากมายเพื่อสมาชิก
ซึ่งสมาชิกจะเข้ารวมกลุ่มโดยจ่ายค่าสมาชิกและเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเพื่อแสดงลักษณะเฉพาะของกลุ่ม
เช่น กลุ่มทางวัฒนธรรมต่างๆ กลุ่มวิชาชีพต่างๆ
- หน้าที่ทางเศรษฐกิจ
กลุ่มมีหน้าที่ทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนั้นเจริญงอกงามทั้งของกลุ่มและสมาชิกรายบุคคล
หรือสถาบัน หรืออาจจะทำด้วยวิธีอื่นๆ
เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของแต่ละบุคคลให้ดำรงอยู่
- หน้าที่ในการกำหนดแนวความคิด
กลุ่มผลประโยชน์มีหน้าที่หลักในการเรียกร้องโดยยึดหลักแนวความคิดของแต่ละบุคคลในแต่ละเรื่อง
ซึ่งอาจเรียกว่าอุดมการณ์ที่คล้ายกัน หรือมีจุดประสงค์เดียวกัน เช่น
การรณรงค์เพื่อเสรีภาพ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- หน้าที่ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และข่าวสารแก่สมาชิก
กลุ่มจะจัดหาข่าวสารหรือข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิก
โดยมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกันภายในกลุ่มสมาชิก
- หน้าที่ซึ่งมีเป้าหมายเฉพาะในแต่ละภารกิจ หน้าที่นี้เป็นหน้าที่ที่หวังผลประโยชน์ หรือผลตอบแทนในด้านอื่นที่มิใช่ทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มต่อต้านสงคราม เป้าหมายต่อต้านการเข้าร่วมสงครามเวียดนาม
กลุ่ม RLT เป้าหมายต่อต้านการทำแท้ง
ประชาชนอาจเข้าร่วมกับกลุ่มด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น เหตุผลทางเศรษฐกิจ
เหตุผลทางอุดมการณ์
แต่แนวทางจะเน้นไปที่เป้าหมายที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินการเป็นส่วนสำคัญ
และมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมาย หรือการตัดสินใจของรัฐบาล
องค์ประกอบที่สำคัญต่อการดำเนินงานของกลุ่มผลประโยชน์
องค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้กลุ่มประสบความสำเร็จประกอบด้วย
เงินทุน
กลุ่มที่มีเงินมากจะประสบความสำเร็จสูง
เพราะเงินจะช่วยให้สามารถจัดหาสื่อที่จะช่วยประชาสัมพันธ์
ช่วยในการหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการประชาสัมพันธ์
และวางแผนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มที่มีเงินทุนมากจะไม่เน้นให้สมาชิกออกมาให้การสนับสนุน
จะชอบใช้วิธีตัวต่อตัว จ้างนักล็อบบี้ที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปผลักดันนโยบายต่างๆ
ส่วนกลุ่มที่มีเงินทุนน้อย จะใช้วิธีที่เรียกว่า นำสู่ประชาชน หรือ
นำสู่ท้องถนน เพื่อเรียกร้องความสนใจจากประชาชน
สมาชิกภาพ
กลุ่มที่มีสมาชิกภาพมากจะมีความสะดวกและได้เปรียบ
คือ
- มีฐานเสียงสนับสนุนข้อเรียกร้อง
- มีผู้เข้าไปติดต่อฝ่ายรัฐบาลได้มากกว่า
- ได้เปรียบด้านการลงคะแนน การระดมทุน และการจัดผู้ประสานงาน
ความนิยมและการยอมรับนับถือ เพื่อสะดวกในการทำงาน
ทำให้การทำงานมีอุปสรรคน้อย
ความเป็นผู้นำ กลุ่มที่ผู้นำมีความรอบรู้และมีความสามารถสูง
จะประสบความสำเร็จสูง
โดยผู้นำต้องมีความเข้าใจและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่นๆ ด้วย
และต้องแสวงหาโอกาสที่จะช่วยให้กลุ่มได้รับผลประโยชน์อยู่เสมอ
บทบาทของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มีต่อกลุ่มผลประโยชน์
มีทั้งด้านบวกและด้านลบ คือ
มีทั้งที่ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มผลประโยชน์สะดวกขึ้น และอีกด้าน คือ
สร้างความยุ่งยากให้กลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
1. ระบบสหพันธรัฐ ซึ่งกำหนดโครงสร้างของรัฐบาลโดยการแบ่งแยกอำนาจ
เป็นระดับชาติ ระดับมลรัฐ ระดับท้องถิ่น
ซึ่งแต่ละระดับมีบทบาทที่สำคัญต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์สามารถเข้าประสานงานกับฝ่ายใดก็ได้ที่เห็นว่าจะช่วยให้นโยบายของกลุ่มผ่านความเห็นชอบ
2. การแบ่งแยกอำนาจ แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์สามารถเข้าประสานงานกับฝ่ายใดก็ได้ที่เห็นว่าจะช่วยให้นโยบายของกลุ่มผ่านความเห็นชอบ
3. การตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ
เป็นการจัดระบบอำนาจของรัฐให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามการดำเนินงานของฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นๆ
ได้ เพื่อให้อำนาจทางการเมืองสมดุล
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่จะเข้าไปผลักดันนโยบายที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
โดยผ่านทางฝ่ายที่มีบทบาทในซึ่งกลุ่มผลประโยชน์
สามารถเข้าประสานงานกับฝ่ายยใดก็ได้ที่เห็นว่าจะช่วยให้นโยบายของกลุ่มผ่านความเห็นชอบ
การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง