สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
อุดมการณ์การเมือง หมายถึง
โครงสร้างทางความคิดของบุคคลหรือความเชื่อเกี่ยวกับการเมือง ค่านิยมทางการเมือง
และบทบาททางการเมือง ระบบความคิดรวมทั้งทัศนะของประชาชนที่มีต่อการทำงานของรัฐบาล
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกาในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งประเทศ
ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการคือ
- การยอมรับในสิทธิมนุษยชน หมายถึง การมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน และสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้
- การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกผู้นำรัฐบาล และนโยบายรัฐบาลจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของชุมชน
- การจำกัดอำนาจของรัฐบาล หมายถึง สิทธิในการควบคุมการกระทำของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐบาลได้
อุดมการณ์ของชาวอเมริกันอาจจำแนกได้ 3 ประการคือ
- อุดมการณ์แบบประชาธิปไตย โดยยึดหลักแนวความคิดที่ว่ารัฐบาลคือ การปกครองโดยคนจำนวนน้อยที่ได้รับเลือกเข้ามาทำงานแทนคนส่วนใหญ่ ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้ปกครอง
- อุดมการณ์แบบพหุนิยม โดยมีแนวความคิดพื้นฐานที่ว่าคุณค่าของประชาธิปไตยจะต้องมีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ นโยบายสาธารณะจะต้องมีการประนีประนอมและสามารถต่อรองกันได้
- อุดมการณ์แบบชนชั้นนิยม
อุดมการณ์ทางการเมืองและนโยบายสาธารณะของอเมริกา
- ลัทธิเสรีนิยม เน้นการใช้อำนาจของรัฐเข้าไปผลิตสินค้า และแก้ไขปัญหาสังคม
- ลัทธิอนุรักษ์นิยม เป็นลัทธิที่นิยมรัฐบาลที่มีอำนาจน้อย ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ มากนัก การแก้ไขควรเป็นหน้าที่ขององค์การอื่นมากกว่า
- ลัทธิสังคมนิยม หมายถึง การเป็นเจ้าของร่วมกันในการผลิต การแจกจ่ายและการบริหาร
- นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมซึ่งกระทำโดยรัฐบาล และมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
การกำหนดนโยบายสาธารณของอเมริกามีขั้นตอนสำคัญ 7 ประการคือ
- การกำหนดปัญหา โดยค้นหาเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีผลกระทบต่อประชาชน
- การกำหนดภาวะการพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยบุคคลหรือสถาบัน
- การกำหนดนโยบาย เป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยบุคคลหรือสถาบันที่รับผิดชอบ
- การยอมรับนโยบาย
- การจัดทำงบประมาณ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประธานาธิบดี และสภาคองเกรสทบทวนนโยบายและแผนงานที่จัดทำไปแล้วว่ามีคุณค่าและประสิทธิภาพเพียงใด
- การนำนโยบายไปปฏิบัติ
- การประเมินผลนโยบาย เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่กระทำลงไปนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
วัฒนธรรมทางการเมืองและการพัฒนาทางการเมืองของอเมริกา
องค์ประกอบของการพัฒนาทางการเมือง คือ
- ความเสมอภาค ประชาชนต้องมีความเสมอภาคในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความเสมอภาคในทางกฎหมาย อีกทั้งความภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความสามารถของระบบการเมือง หมายถึง ความสามารถที่ระบบการเมืองจะตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
- สมรรถนะของระบบการเมืองจะต้องมีความสัมพันธ์กับความเป็นเหตุเป็นผลในการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะ
- การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่าง และมีความชำนาญเฉพาะในการปฏิบัติภาระกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
- การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผล เพื่อการดำรงรักษาระบบการเมืองที่ดีให้มีเสถียรภาพมั่นคง
- ความเป็นอิสระของระบบย่อย คือระบบการเมืองมีลักษณะการกระจายอำนาจ
ความสำคัญของการพัฒนาทางการเมือง
การพัฒนาทางการเมืองเป็นการทำให้เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเด่นชัดยิ่งขึ้น
เป็นการชี้ให้เห็นว่าอะไรเป็นเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์
ซึ่งการพัฒนาทางการเมืองมีความสำคัญอย่างมากต่อแนวทางและวิธีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
โดยการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแนวทางต่างๆ และต้องมีความเหมาะสมกับสภาพของประเทศ
นอกจากนี้การพัฒนาทางการเมืองยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
เพราะการเมืองจะมีส่วนช่วยในการเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองจนนำไปสู่การพัฒนาทางการเมืองของอเมริกาคือ
- วัฒนธรรมทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีเสรีภาพในด้านต่างๆ ความเสมอภาค ความเป็นปัจเจกชน และความเป็นประชาธิปไตย
- วิถีชีวิตที่มีการอบรมหล่อหลอมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
- การมีระบบพรรคการเมืองที่มั่นคง
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างถูกต้อง
- ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดี และมีความเจริญทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย
การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง