วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
มลพิษทางอากาศ
บรรยากาศ คือ ชั้นของก๊าซต่าง ๆ
ที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก มีความสูงถึง 2,000 กิโลเมตร
นับจากผิวโลกขึ้นไป ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง
คือเป็นแหล่งให้และรักษาสมดุลย์ของออกซิเจนที่สำคัญ
เป็นฉนวนป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลต อินฟราเรด และแกมม่า เป็นตัวกลางกระจายแสง เสียง
ความร้อย ความชื้น ถ่ายเทพลังงาน และควบคุมฤดูกาลต่าง ๆ
บรรยากาศจึงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่บนโลกนี้
การกระทำใด ๆ
ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศจะส่งผลโดยตรงต่อการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
การเผาเชื้อเพลิงใด ๆ การหายใจของสิ่งมีชีวิต
และแม้กระทั้งการเจริญเติบโตของพืชผักทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำใด ๆ
จึงล้วนมีความเกี่ยวข้องกับอากาศที่ห่อหุ้มตัวเราและโลกอยู่เสมอ
บรรยากาศที่ห่อหุ้มเราอยู่นี้มีคุณสมบัติที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้รอบโลก
และมีการผสมกันตลอดเวลา เพื่อให้บรรยากาศทั่วโลกมีความเข้มข้นของมลสารต่าง ๆ
ในปริมาณที่เท่ากัน จึงไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าการเกิดเหตุการณ์ใด ๆ
ไม่ว่าจะมาจากน้ำมือของมนุษย์ เช่น อุบัติภัยเชอร์นาบิล
ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าปรมาณูระเบิดขึ้นในปี พ.ศ. 2529 หรืออุบัติภัยจากธรรมชาติ เช่น
การระเปิดของภูเขาไฟกระกะตัว ฯลฯ นั้น
จะส่งผลให้ฝุ่นนิวเคลียร์และเถ้าภูเขาไฟล่องลอยในอากาศครอบคลุมไปทั่วโลก และตกลงมา
ณ ที่ต่าง ๆ ในที่สุด ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่บนโลก
และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจว่า
บรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
อันเกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้ามากระแทกพื้นผิวโลกนี้
เป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ที่มีอยู่ทั่วโลกสูญพันธุ์ไปในระยะเวลาอันสั้นหรือไม่
บรรยากาศที่ประกอบด้วยมลสารต่าง ๆ มากมายนี้นั้น
เคลื่อนที่ตลอดเวลามีก๊าซต่าง ๆ มากมายที่มีค่าความเร็วสูงมากอยู่ในโลกนี้
แต่ก๊าซเหล่านี้ไม่สามารถหนีพ้นไปจากโลกได้ตัวอย่างเช่น
ความเร็วของโมเลกุลออกซิเจนมีค่า 3,500 เมตรต่อวินาที
ก็ยังไม่มากไปกว่าความเร็วหนีพ้นที่มีค่า 11,000 เมตรต่อวินาที
มิฉะนั้นจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้อยู่แต่ในโลก
จึงกล่าวได้ว่าโลกมีบรรยากาศอันหนาแน่นห่อหุ้มอยู่ (สัตยา, 2526)
องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)
เอกสารอ้างอิง
- กรมควบคุมมลพิษ, 2546. www.pcd.go.th , กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, accessed 29 กรกฎาคม 2546
- กรมควบคุมมลพิษ, 2546. สารกรดในบรรยากาศ มลพิษที่ไร้พรมแดน, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,16 หน้า
- กรมควบคุมมลพิษ, 2546. มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ และมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่ง กำเนิด, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อรุณการพิมพ์ ถ.ดินสอ เขตพระ นคร กรุงเทพฯ 10200, หน้า 40
- กรมควบคุมมลพิษ, 2546. สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2545, กรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 92 ซ.พหลโยธิน 7 เขตพญาไท กทม. 10400, 40 หน้า
- สัตยา ชูชัย, 2530. ความลี้ลับในอวกาศ, สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา ถ.ประชาธิปก กรุงเทพ ฯ 10600, 88 หน้า