วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
ไฮโดรคาร์บอนเป็นสารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนและคาร์บอน หรือถ่านไฮโดรคาร์บอน เป็นองค์ประกอบหลักของเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ในพืชและสัตว์ก็มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนบางชนิดด้วย เมื่อเรานำเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินมาใช้ ตลอดจนการเผาฟืนหรือมูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิง ก็จะปลดปล่อยไฮโดรคาร์บอนออกมาด้วย นอกจากนี้น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซเหลวที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ก็มีก๊าซระเหยจากถังเก็บน้ำมัน น้ำมันคาบูเรเตอร์ ห้องพักไอดี หรือในช่วงเติมน้ำมัน และก่อนเตาแก๊ซจะติดไฟ เหล่านี้ก็จะมีไฮโดรคาร์บอนจำนวนหนึ่ง ระเหยเข้าสู่บรรยากาศด้วยสาเหตุดังกล่าว
ไฮโดรคาร์บอนที่เข้าสู่บรรยากาศอันเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หรือการระเหยก็ดี
ไม่ได้เป็นอันตรายโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพ
แต่จะเกิดผลร้ายเมื่อก๊าซนี้ไปทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ (NOX)
โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาโฟโตเคมีคัล
หรือปรากฏการณ์หมอกพิษ (Photochemical Smog)
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดจากแสงเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดสารพิษขึ้นหลายชนิด
เช่นโอโซน สารกลุ่มอัลดีไฮด์ และคีโตน เป็นต้น
สารเหล่านี้เมื่อรวมตัวกับหมอกหรือควันก็จะกลายเป็นหมอกควันพิษ
ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมหรือตามเมืองใหญ่ ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น
ทำให้มีผู้คนเจ็บป่วย ล้มตาย เช่น ลอสแองเจลิสในสหรัฐอเมริกา
เมลเบิร์นในประเทศออสเตรเลีย และที่ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตนับพันคน ได้แก่
กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ
จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร
พบว่าเกิดปรากฏการณ์หมอกพิษขึ้นเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะในช่วงตอนบ่ายที่ควันพิษสะสมไว้มากที่สุด
ใครที่ขึ้นไปบนตึกสูงแล้วมองทิวทัศน์ของกรุงเทพ ฯ
จะเห็นว่ามหานครนี้เป็นเมืองในหมอก
องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)