วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

มลพิษทางอากาศ

ฝุ่นละออง เขม่า ควัน

ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เป็นปัญหามลพิษทางอากาศหลักของประเทศไทยทั้งในเขตกรุงเทพมหานคปริมณฆลมานานนับสิบปี ฝุ่นละออง เป็นอนุภาคมลสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะมีผลรุนแรงต่อปอดทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเรื้อรังหรือฉับพลันได้ โดยผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืดจะปรากฎอาการรุนแรง ปัญหาฝุ่นละอองได้ถูกแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกินค่ามาตรฐาน 10 เท่าในปี 2535 (3.3 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) จนปัจจุปันมีค่าเฉลี่ยไม่เกินค่ามาตรฐาน คือ 0.10 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตรในปี 2545 (ค่ามาตรฐาน = 0.33 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร)

การผันแปรของปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและกิจกรรมการพัฒนาที่เกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ เช่น การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ รวมทั้งปัญหาการจราจร การพัฒนาและเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับแต่ปี 2532 เป็นต้นมา มีค่าสูงสุดในปี 2535 และลดระดับลงในปี 2536-2537 เมื่อทางด่วนพิเศษขั้นที่ 1 ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามปริมาณฝุ่นละอองได้กลับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งจนเข้าสู่ระดับวิกฤติในช่วงปี 2538-2539 ซึ่งเป็นเวลาที่เศรษฐกิจ เฟื่องฟู มีการก่อสร้างโครงการที่ก่อให้เกิดฝุ่นอย่าง มากมาย เช่น โครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษขั้นที่ 2 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าธนายง (BTS) โครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ รวมไปถึงการก่อสร้างอาคารสูงต่างๆ และปริมาณการจราจรที่หนาแน่นในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร

การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2538 โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและชุมชนในประเทศไทยขึ้น พร้อมกับได้จัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลัก 3 ประการ คือ

1) ควบคุมการระบาย
2)ลดแหล่งกำเนิด และ
3)ประชาสัมพันธ์

 

การดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการตรวจจับรถที่มีมลพิษเกินมาตรฐาน การตรวจสอบการก่อสร้างอาคาร ถนน และระบบขนส่งมวลชนให้มีการปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง การตรวจจับรถบรรทุกขนส่งวัสดุก่อสร้างให้มีการทำความสะอาดก่อนวิ่งออกสู่ท้องถนน จัดเจ้าหน้าที่และรถล้าง กวาด และดูดสิ่งสกปรกบนพื้นถนนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการปรับปรุงบาทวิถี ทางเท้า การจัดระเบียบหาบเร่/แผงลอย และการปลูกพืชคลุมดินในบริเวณพื้นที่ว่างบนเกาะกลางถนน ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองลดการฟุ้งกระจายลง รวมไปถึงการจัดประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลทำให้การระบายควันดำของรถต่างๆ ลดลง ร่วมกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศในช่วงปี 2540-2541 และภาครัฐมีมาตรการจัดการที่เข้มงวด ทำให้แนวโน้มของฝุ่นละอองในบรรยากาศมีระดับลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวนี้แม้จะได้รับการแก้ไขจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่บางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครก็ยังคงมีปัญหาฝุ่นละอองปรากฎให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่เขตชั้นในที่มีการจราจรหนาแน่นสูง และมีรถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะรถร่วมบริการของภาคเอกชนที่ขาดการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เข้าไปวิ่งให้บริการและได้ระบายควันดำออกมาปริมาณมาก เป็นผลให้บริเวณริมถนนของพื้นที่ชั้นในยังคงมีฝุ่นละอองสูง โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็ก (เล็กกว่า 10 ไมครอน) ยังอยู่ในระดับเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ ได้แก่ สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สระบุรี และลำปาง เป็นต้น ดังนั้นปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบันจึงยังจัดเป็นปัญหาหลักทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด ที่รัฐจะต้องเข้าไปแก้ไขให้หมดสิ้นไป

องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย