วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
สารกรดในบรรยากาศ
(ฝนกรด หรือ acid rain)
ฝนกรดเกิดจากก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) และซัลเฟอร์ (SOX)
รวมตัวกับไอน้ำในบรรยากาศเปลี่ยนเป็นกรดไนตริก (HNO3) และซัลฟูริค (H2SO4)
เมื่อรวมตัวกับเมฆและตกลงมากับฝนจึงเรียกว่าฝนกรด
ออกไซด์ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์นี้ส่วนมากมักเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
เช่นพวกน้ำมันเชื้อเพลิง และถ่านหิน
สารกรดในบรรยากาศนี้สามารถถูกพัดพาไปได้ไกลอย่างไร้พรมแดน ส่งผลให้หมอก น้ำค้าง ฝน
เป็นกรด กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายภูมิภาคของโลก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในอัตราที่สูง
ทำให้ชุมชนเมือง อุตสาหกรรม และการคมนาคมขนส่ง ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เป็นผลให้มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ที่ไม่เคยเป็นปัญหาในอดีต ก็กลับเริ่มมีปรากฏขึ้นบ้างแล้ว
โดยในบางครั้งตรวจพบว่าน้ำฝนที่ตกลงมาในเขตเมือง
และเขตอุตสาหกรรมมีความเป็นกรดสูงกว่าน้ำฝนธรรมชาติ
ซึ่งอาจทวีความรุนแรงขึ้นได้ในอนาคนเช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา
ซึ่งในปัจจุบันค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของปริมาณน้ำฝนในกรุงเทพมหานคร
ระหว่างปี 2540-42 มีค่า 5.5
การตกสะสมของกรดจะทำให้ดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งรองรับอื่น ๆ
มีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น
สารประกอบซัลเฟอร์สามารถกัดกร่อนวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้
โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินปูน หินอ่อน หินชนวน กระเบื้องหลังคา
และปูนซิเมนต์
โดยเมื่อทำปฏิกิริยาจะกลายเป็นสารละลายแคลเซียมซัลเฟตทำให้เกิดการสึกกร่อนมากขึ้น
นอกจากนี้สารประกอบซัลเฟอร์ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดกร่อนของโลหะ
และทำให้เส้นไนล่อนลดความแข็งแรงลงด้วย
ฝนกรดมีผลเสียหายโดยตรงต่อพืชและการสังเคราะห์แสง
มีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืชในดิน
เนื่องจากไม่อยู่ในรูปแบบที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้
กรดกำมะถันทำให้อลูมิเนียมและธาตุโลหะหนักในดินละลาย และเป็นอันตรายต่อรากฝอยในพืช
ทำให้การดูดน้ำและการเจริญเติบโตของพืชลดลง และทำให้พืชอ่อนแอ
เกิดการทำลายโดยโรคราและแมลงได้มากขึ้น
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่อยู่ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง
ใบเเลืองและร่วงหล่นในที่สุด
แหล่งน้ำที่มีความเป็นกรดจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของปลา
เช่นหยุดขยายพันธุ์เมื่อ pH ต่ำกว่า 5.5
การแพร่พันธุ์ของแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ลดลงอีกด้วย
ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อห่วงโซ่อาหาร
การลดการผลิตก๊าซออกไซด์ของซัลเฟอร์และออกไซด์ของไนโตรเจน
สามารถทำได้โดย
- การเปลี่ยนแปลงการใช้เชื้อเพลิง เช่นใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือพลังงานน้ำแทน
- การประหยัดและการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- การควบคุมมลภาวะที่ปากปล่องหรือที่แหล่งกำเนิด เช่น การใส่ระบบกำจัดออกไซด์ของซัลเฟอร์และไนโตรเจน
องค์ประกอบบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollutions)
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน
สารตะกั่ว (Pb)
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ไฮโดรคาร์บอน (HC)
สารกรดในบรรยากาศ (ฝนกรด หรือ acid rain)