วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

วรรณกรรม

วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์
วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ
สุนทรียภาพทางภาษา
สุนทรียะด้านการใช้คำ
สุนทรียะด้านกวีโวหาร
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีกับวัฒนธรรม
วรรณคดีกับศิลปะ
วรรณคดีดนตรีและการแสดง
วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น
เรื่องสั้น นวนิยาย

เรื่องสั้น นวนิยาย

วิวัฒนาการของเรื่องสั้น นวนิยาย

  1. ยุคเริ่มแรก - ที่มาของวรรณกรรมแปลและแปลง (พ.ศ. 2443-2469) เช่น เรื่อง ความพยาบาท คุณย่าเพิ้ง นิทานนายทองอิน แพรดำ
  2. ยุครุ่งอรุณ – ที่มาของวรรณกรรมแนวจินตนิยม (พ.ศ. 2470 – 2475) เช่น เรื่อง ละครแห่งชีวิต สงครามชีวิต ศัตรูของเจ้าหล่อน
  3. ยุครัฐนิยม – ที่มาของวรรณกรรมแนวก้าวหน้า (พ.ศ. 2476-2488) เช่น เรื่องหญิง คนชั่ว เมืองนิมิตร จับตาย ซาเก๊าะ ท่อนแขนนางรำ ดาวหาง นักบุญ – คนบาป
  4. ยุคกบฏสันติภาพ – ที่มาของวรรณกรรมเพื่อชีวิต (พ.ศ. 2489 – 2500) เช่น เรื่อง จนกว่าเราจะพบกันอีก แลไปข้างหน้า ความรักของวัลยา ทุ่งมหาราช ปีศาจ ไผ่แดง แผ่นดิน นี้ของใคร เมืองทาส ระย้า เรื่องสั้นชุดฟ้าบ่กั้น เรื่องสัญชาตญาณมืด
  5. ยุคสมัยแห่งความเงียบ – ที่มาของวรรณกรรมน้ำเน่า (พ.ศ. 2501-2506) เช่น เรื่องบ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์ ผู้ดี หนึ่งในร้อย
  6. ยุคฉันจึงมาหาความหมาย – ที่มาของวรรณกรรมคนหนุ่มสาว (พ.ศ. 2507- 2516) เช่น เรื่องคนบนต้นไม้ แล้งเข็ญ ถนนสายที่นำไปสู่ความตาย รถไฟเด็กเล่น คนโซ เรือมนุษย์ ตะวันตกดิน เขาชื่อกานต์ จดหมายจากเมืองไทย วงเวียนชีวิต แด่คุณครูด้วยคมแฝก
  7. ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน – ที่มาของวรรณกรรมเพื่อประชาชน (พ.ศ. 2516 – ปัจจุบัน)

ลักษณะของเรื่องสั้น

  1. ความยาว อ่านภายในระยะเวลา 5-50 นาที หรือจำนวนคำประมาณ 2,000- 12,000 คำ
  2. โครงเรื่อง มีโครงเรื่องเดียว
  3. แนวคิด เสนอแนวคิดเดียว
  4. ตัวละคร ประมาณ 2-3 ตัว
  5. บทสนทนา ใช้ภาษาสมจริง สอดคล้องกับตัวละคร สภาพแวดล้อม
  6. ฉาก บรรยากาศ ต้องสมจริง สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

บรรณานุกรม

  • เจตนา นาควัชระ. ทางไปสู่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมล, 2524.
  • ยุวพาส์ (ประทีปเสน) ชัยศิลป์วัฒนา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
  • รื่นฤทัย สัจพันธุ์. แลลอด ลวดลาย วรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมล, 2534. . สีสรรพ์วรรณศิลป์. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด, 2534.
  • วิทย์ ศิวะศริยานนท์. วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมชาติ, 2541.
  • สิทธา พินิจภูวดล. ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา หน่วย ที่ 8 – 15. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537.
  • สิริวรรณ วงษ์ทัต. รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาการสร้างตัวละครปรปักษ์ในวรรณคดีไทย. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา , 2545

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย