วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์
วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ
สุนทรียภาพทางภาษา
สุนทรียะด้านการใช้คำ
สุนทรียะด้านกวีโวหาร
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีกับวัฒนธรรม
วรรณคดีกับศิลปะ
วรรณคดีดนตรีและการแสดง
วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น
เรื่องสั้น นวนิยาย
สุนทรียะด้านกวีโวหาร
1 . การใช้โวหารภาพพจน์ (figure of speech) เป็นศิลปะการใช้ภาษา เพื่อให้เกิด จินตนาการภาพอย่างชัดเจน ผู้แต่งอาจใช้ภาพพจน์ในการเปรียบเทียบรูปธรรมและนามธรรม เช่น การอุปมาอุปไมย ดังตัวอย่าง
- อุปมา (Simile) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าสิ่งหนึ่งคล้ายหรือ
เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เหมือน คล้าย ดุจ ดัง
ดั่ง ดูราว กล ประหนึ่ง เพียง ราวกับ เฉก ครุวนา อุปมา พ่าง ประดุจ เช่น ฉัน
เท่า เทียม เป็นต้น
เจ้างามเนตรประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง
เจ้างามนาสายลดังกลขอ เจ้างามศอเหมือนศอสุวรรณหงส์
เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง เจ้างามวงวิลาสเรียบระเบียบไร
(จารึกวัดพระเชตุพนฯ) - อุปลักษณ์ (Metaphor) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่ง โดยเปรียบสิ่ง
หนึ่งว่าเป็น หรือคืออีกสิ่งหนึ่ง ด้วยการใช้คำว่า เป็น เท่า คือ
ชมผมเจ้าดำขลับ แสงยับยับกลิ่นหอมรวย
ประบ่าอ่าสละสลวย คือมณีสีแสงนิล
(กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก) - ปฏิภาคพจน์ (Paradox) คือ การใช้ข้อความที่มีความหมายขัดกัน
ตัวนางเป็นไทยสิใจทาส ไม่รักชาติรสหวานไปพาลขม
ดังสุกรฟอนฝ่าแต่อาจม ห่อนนิยมรักรสสุคนธ์ธาร
(กากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ) - อติพจน์ (Hyperbole) คือ การพูดเกินความจริงเพื่อเน้นความรู้สึก
และเพื่อให้
เกิดผลในด้านอารมณ์
ตราบขุนคิริข้น ขาดสลาย แลแม่
รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย
(โคลงนิราศนรินทร์)
- บุคลาธิษฐาน (Personification) คือ การใช้โวหารที่กล่าวถึงสิ่งไม่มีชีวิต
แต่ เขียนเสมือนหนึ่งว่ามีชีวิต แสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ ราวกับคน
เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมิลมองแล้วร้องไห้
พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง
(อยุธยาวสาน จินตนา ปิ่นเฉลียว)
ทำไมฟ้าวันนี้คล้ำดำนักหนอ ทำไมพ้อเพลงไผ่หลุบใบปิด
ทำไมดอกไม้เฉาเศร้าเกินพิศ ขวัญคนชิดเปลี่ยนกมลเป็นคนไกล
(ดอกหญ้ากับอารมณ์ จินตนา ปิ่นเฉลียว) - ปฏิปุจฉา (Rhetorical question) คือ การใช้โวหารที่เป็นศิลปะของการใช้คำ
ถาม ซึ่งเป็นคำถามที่มิได้หวังคำตอบ
แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
(เรื่องอิเหนา) - สัญลักษณ์ (Symbol) คือ
การใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแทนสิ่งที่ เป็นนามธรรม
สัญลักษณ์ที่ใช้โดยทั่วไป เช่น
แสงสว่าง เป็นสัญลักษณ์แทน ปัญญา
ความมืด กิเลส และอวิชชา
แก้ว ความดีงาม
สีดำ ความโหดเหี้ยม
ความผิด ความโง่เขลา
สีขาว ความบริสุทธิ์
สีแดง ความรัก เลือด
สีเหลือง พุทธศาสนา พระสงฆ์
ดอกไม้ สตรี
ดอกประดู่ ทหารเรือ - การใช้คำเลียนเสียง (Onomatopid) คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
เพื่อสร้างมโนภาพแก่ผู้อ่าน
เสียงซออ๋ออ่ออ้อ เอื่อยเพลง
จับปี่เตร๋งเต้งเต๋ง เต่งต้อง
ขลุ่ยตรุ๋ยตรุ่ยตรุ้ยเหนง เหน่งเน่ง ระนาดแฮ
ฆ้องหน่องหนองน่องหน้อง ผรึ่งพริ้งพรึงตะโภน
(โคลงนิราศสุพรรณ) - การกล่าวเท้าความหรืออ้างถึง (Allusion) คือ การอ้างถึงคำพังเพย สุภาษิต
สำนวน หรือเท้าความถึงนิทานหรือวรรณคดีเรื่องสำคัญที่รู้จักกันดี
ประเพณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
(พระอภัยมณี)