วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

วรรณกรรม

วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์
วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ
สุนทรียภาพทางภาษา
สุนทรียะด้านการใช้คำ
สุนทรียะด้านกวีโวหาร
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีกับวัฒนธรรม
วรรณคดีกับศิลปะ
วรรณคดีดนตรีและการแสดง
วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น
เรื่องสั้น นวนิยาย

ประเภทของวรรณคดี

1. วรรณคดีเกี่ยวกับคำสอน

หมายถึง วรรณคดีที่มุ่งสอนจริยธรรมแก่สังคม เช่น

  • สุภาษิตพระร่วง สอนจริยธรรมและหลักการประพฤติปฏิบัติของคนเพื่อจะได้อยู่ร่วม กันอย่างมีความสุข
  • สุภาษิตสอนหญิง สอนว่าผู้หญิงไทยควรปฏิบัติอย่างไร
  • สวัสดิรักษา คำกลอน เป็นวรรณคดีที่แนะนำข้อควรปฏิบัติเพื่อสร้างศิริมงคลให้กับตน เอง
  • กฤษณาสอนน้อง มีใจความเกี่ยวกับการครองเรือนและหลักธรรมที่สตรีควรปฏิบัติต่อสามี
  • วรรณกรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยแนะนำ แนวทางการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมและยังช่วยกล่อม เกลาจิตใจของผู้อ่านอีก

คำสอนสำหรับชาย

แต่เช้าตรู่สุริโยอโนทัย ตื่นนอนให้ห้ามโทโสอย่าโกรธา
ผินพักตร์สู่บูรพทิศและทักษิณ เสกวารินด้วยพระธรรมคาถา
ที่นับถือคือพระไตรสรณา ถ้วนสามคราจึ่งชำระสระพระพักตร์
แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน จะถาวรพูนเกิดประเสริฐศักดิ์
ด้วยราศีชะลอนรลักษณ์ อยู่พระพักตร์แต่ทิวาเวลากาล
ยามกลางวันนั้นว่าพระราศี สถิตที่วรองค์สรงสนาน
พระอุระประสุคนธ์วิมลมาลย์ จะสำราญโรคาไม่ราคี
ครั้นพลบค่ำคล้ำฟ้าสุธาวาส ฝ่ายเบื้องบาทซ้ายขวาเป็นราศี
จงรดน้ำชำระซึ่งราคี ห้ามสตรีอย่าให้พาดบาทยุคล

(สวัสดิรักษา)

2. วรรณคดีศาสนา วรรณคดีชาดก

วรรณคดีศาสนา หมายถึง เรื่องราวที่เขียนขึ้นโดยอาศัยเนื้อหาสาระ หรือหลัก ธรรมของศาสนา หรืออิงหลักธรรมของศาสนา เรื่องราวของบุคคลต่าง ๆ ในศาสนา ได้แก่ ศาสดา สาวก รวมทั้งเรื่องราวที่ผูกขึ้นใหม่ให้เป็นอย่างเรื่องในศาสนา

วรรณคดีชาดก หมายถึง วรรณคดีที่นำเรื่องราวจากคัมภีร์ชาดกมาแต่งเป็นคำ ประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ขึ้นใหม่ โดยยึดเรื่องชาดกเป็นหลักในการสอนธรรม คติธรรม คุณธรรม และศีลธรรมให้แก่ผู้อ่านผู้ฟัง วรรณคดีที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น ไตรภูมิพระร่วง สามัคคีเภทคำฉันท์ กามนิต พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น

วรรณคดีที่เกี่ยวกับชาดก เช่น พระเจ้าสิบชาติหรือทศชาติ เป็นเรื่องของการบำเพ็ญบารมีชั้นสูงของพระพุทธองค์ รวม 10 ชาติ ก่อนที่จะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญทานบารมี ชาดกตอนนี้ เป็นตอนที่พุทธศาสนิกชนศรัทธาและนิยมมากที่สุด มีหลายสำนวน เช่น มหาชาติกลอนเทศน์ กาพย์มหาชาติ มหาชาติคำหลวง ลิลิตมหาชาติ มหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้นว่า มหาชาติไทยเหนือ มหาชาติคำเฉียง (อีสาน) มหาชาติไทยใต้ หรือพระมหาชาดก และไตรภูมิ พระร่วง พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น

3. วรรณคดีขนบประเพณี

วรรณคดีขนบประเพณี หมายถึง วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประเพณี พิธีกรรม และ ขนบธรรมเนียมต่าง ๆในการประกอบพิธีในสังคมไทยมักต้องมีบทประกอบพิธี ซึ่งอยู่ในรูปของ บทสวด บทเพลงที่เรียบเรียงอย่างไพเราะ ใช้ภาษาที่สร้างอารมณ์ให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกถึงความ ศักดิ์สิทธิ์ โดยเหตุที่คนไทยประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ วรรณคดีที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อใช้ในพิธีต่าง ๆ เช่น การเทศน์มหาชาติ (สวดเรื่องราวพระชาติ อัน ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า) หรือในการบวชก็มีร่างทำขวัญนาค ส่วนวรรณคดีสำหรับใช้ในพิธีที่ สำคัญ คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ เช่น

ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นงานประพันธ์สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฏว่าผู้ใด ประพันธ์ บทสวดเริ่มด้วยการสร้างบรรยากาศความศักดิ์สิทธิ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทุกพระองค์มา เป็นสักขีพยาน ทั้งพระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ยมบาล นอกจากนี้ยังเชิญบรรดาผีทั้งหลายใน บ้านเมือง ปู่เจ้าสมิงพราย ผีพราย ผีป่า ผีน้ำ ผีฟ้า มาร่วมชุมนุมในพิธีนี้ ตามปกติคนจะกลัว อำนาจของสิ่งเหนือธรรมชาติ อันได้แก่ อำนาจของเทพเจ้า เทวดา หรือผีบ้านผีเมือง เมื่อทำให้ ยอมรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ในพิธี จึงใช้อำนาจเป็นคำขู่และสาปแช่งว่า

คาบิดเป็นดาวงุ้ม
ฟ้ากระทุ้งทับลง
ลืมตาหงายสู้ฟ้าจนตาย
ก้มหน้าลงแผ่นดินจนตาย

……………………………………………

จระเข้ขบเสือฟัด
ใครต้องจอบจงตาย
หมีแรดกวัดเขนงขนาย หอกปืนปลายปักครอบ

……………………………………………

ผีดงผีหมื่นล้ำ
หันมาเย้ยพะลุ่ง
ขบถเกียจกาย
ล้ำหมื่นผา
จุ่มมาสูบเอา
มาหนน้ำหนบก
เขาผู้บ่ซื่อ
ถ้วนผีห่าผีเหว…
ซึ่งใครใจคด

ในคำสาปแช่งจะเน้นคำว่า “จงตาย” อยู่ตลอดเวลาดังคำประพันธ์ข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อ ให้คนฟังสำนึกอยู่เสมอว่าโทษของการทรยศนั้นถึงตาย นอกจากนี้ ก็ใช้การพรรณนาให้ภาพที่น่า กลัว เช่น “จระเข้ขบเสือฟัด” “หอกปืนปลายปักครอบ” หรือในนรกปลายปลิ้นดิ้นพลาง” ทำให้ นึกถึงสภาพของตนเวลาถูกจระเข้กัด เสือฟัด ถูกหอกปลายปืน เสียบหรือไฟนรกเผาผลาญจน ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนครวญคราง ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน ตำรับนาง นพมาศ

ปัจจุบันการเรียบเรียงวรรณกรรมเกี่ยวกับพิธีกรรมยังมีอยู่ แต่เนื่องด้วยการทำพิธี กรรมของชาวไทยได้ลดน้อยลงตามลำดับ วรรณกรรมเกี่ยวกับพิธีกรรมในปัจจุบัน จึงเขียนเป็น ร้อยแก้ว ในทำนองบันทึกพิธีกรรม การแต่งเรื่องที่ประกอบพิธีกรรมแม้ว่าจะมีน้อยลงไป แต่ก็ยัง มีบทบาทอยู่บ้างในสังคมไทย

4. วรรณคดีเกี่ยวกับการเดินทาง

วรรณคดีไทยเกี่ยวกับการเดินทางเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ เป็นการพรรณาการ เดินทาง อารมณ์ อาวรณ์ การคร่ำครวญ

เนื้อหาพรรณาอารมณ์รักพร้อมกับการเดินทาง สะท้อนให้เป็นความรัก ความ อาลัย ที่ต้องพัดพรากจากนางและถิ่นฐานบ้านช่อง เดินทางมารอนแรมไกล ส่วนรายละเอียดของ การเดินทางเป็นเพียงบันทึกเส้นทางจะไม่กล่าวถึงประวัติ ตำนานสถานที่มากนัก เช่น

  • นิราศหริกุญไชย กล่าวถึงการเดินทางไปนมัสการ พระชาติหริกุญไชย
  • นิราศพระบาท กล่าวถึงการเดินทางไปนมัสการ พระพุทธบาทที่สระบุรี

วรรณคดีไทยที่เกี่ยวกับนิราศ ส่วนใหญ่จะตั้งชื่อตามสถานที่ ที่ผู้แต่งเดินทางไป ตังอย่างเช่น

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

(นิราศพระบาท)

ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว

(นิราศภูเขาทอง)

5. วรรณคดีประวัติศาสตร์

วรรณคดีประวัติศาสตร์ หมายถึง วรรณคดีที่แต่งขึ้นโดยมีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เป็นแก่นของเรื่อง ลักษณะของเนื้อเรื่องในวรรณคดีประวัติศาสตร์

  • สดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์
  • บันทึกและรายงานเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง
  • กล่าวถึงลางสังหรณ์และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
  • บันทึกเกร็ดเบื้องหลังประวัติศาสตร์

นักวรรณคดีนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียง โดยสอดแทรกจินตนาการ และใช้ ภาษาให้ไพเราะงดงามน่าประทับใจ

วรรณคดีที่กล่าวถึงการศึกษาสงครามและสดุดีวีรชนผู้กล้าหาญ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ศิลา จารึกพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีที่กล่าวถึงการสู้รบนี้ จะมีเนื้อหาที่กล่าวถึงความสามารถของวีรชน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในการรบและยกย่องชมเชยความกล้าหาญของวีรชน ก่อให้เกิด ความภาคภูมิใจในชาติ และเลื่อมใสศรัทธาในตัววีรชน

วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง พรรณนาถึงความสำคัญที่เกิด ขึ้นในยุคสมัยต่าง ๆ เช่น เสภาพระราชพงศาวดาร กรุงเทพคำฉันท์ (พรรณนาพระราชกรณียกิจ สำคัญของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 6)

ตัวอย่าง การสดุดีพระมหากษัตริย์

พระยศลือล่งท้อง ธรณิน
ท้าวทั่วสากลถวิล ฝ่ายเฝ้า
หวังมาอยู่ประดิทิน ทูลบาท
โอนมกุฎก้มเกล้า กลาดท้องโรงธาร

(โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)



6. วรรณคดีที่ดีมีเนื้อหาเป็นนิทาน

วรรณคดีเป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ ดังนั้น นิทานจึงเหมาะที่จะนำมาแต่งวรรณคดี เพราะมีทั้งอารมณ์รักอารมณ์โศก อารมณ์สนุกสนาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะก่อให้เกิดความปิติแก่ผู้ อ่านเนื้อเรื่อง เอื้อต่ออารมณ์ ชวนติดตามภาษาที่จะทำให้ “รู้สึก” เป็นถ้อยคำพรรณาที่เป็นโวหาร ตอบโต้ เป็นคารมที่ผู้อ่านตรงใจ

ประเภทของวรรณคดีนิทาน

  • วรรณคดีนิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ บางครั้งเรียกว่านิทานทรงเครื่อง หรือนิทานประโลมโลก เช่น สังข์ทอง สุวรรณหงส์ และไชยเชษฐ์มีเรื่องอภินิหารเข้ามา ประกอบด้วย แม้จะเป็นเรื่องของจินตนาการ แต่ก็มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงทางสังคม นิทาน ไทยยังมีเรื่องความขัดแย้งระหว่างเมียหลวง เมียน้อย ก็เพาะสังคมไทยในอดีตอนุญาตให้ผู้ชายมี ภรรยาหลายคน
  • วรรณคดีนิทานที่มีเค้าเรื่องจริง มักเป็นเรื่องราวของบุคคลที่เชื่อว่ามีตัวตน จริงในประวัติศาสตร์ เล่าสืบต่อกันมา จดจำเรื่องที่เล่าต่อกันมา จนแต่งเป็นวรรณคดี เช่น ลิลิต พระลอ เป็นนิทานท้องถิ่นทางภาคเหนือ ขุนช้างขุนแผนเป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางแถบ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี หรือเงาะป่าเป็นเรื่องของชนชั้นที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้

รูปแบบของวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นนิทาน

  • รูปแบบที่เป็นชาดก คือ เรื่องราวพื้นบ้านที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า
  • รูปแบบที่เป็นการแสดง คือ การนำนิทานนั้นมาแต่ง ในรูปวรรณคดีการ แสดง วรรณคดีนิทานของภาคกลางส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการแสดง เช่น สังข์ทอง มโนห์รา สังข์ศิลป์ชัย พิกุลทอง อิเหนา รามเกียรติ์ ฯลฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย