วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์
วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ
สุนทรียภาพทางภาษา
สุนทรียะด้านการใช้คำ
สุนทรียะด้านกวีโวหาร
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีกับวัฒนธรรม
วรรณคดีกับศิลปะ
วรรณคดีดนตรีและการแสดง
วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น
เรื่องสั้น นวนิยาย
วรรณคดีดนตรีและการแสดง
การละครเป็นศิลปะที่มีศิลปะหลายแขนงเข้ามาเกี่ยวข้อง
วรรณคดีไทยไม่ใช่วัฒนธรรมทางหนังสือฝ่ายเดียว
แต่เป็นศิลปะซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับคีตศิลป์และนาฎศิลป์
ยากที่จะสามารถแยกออกจากกันได้ ความแตกต่างระหว่าง วรรณศิลป์ คีตศิลป์
และศิลปะการแสดง อยู่ที่วรรณศิลป์ใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง
เราต้องเข้าใจภาษานั้นก่อนจึงเข้าใจวรรณศิลป์ ในขณะที่คีต
ศิลป์เป็นสิ่งที่เข้าใจและชื่นชมได้ง่ายกว่าแม้ในชนชาติต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม
ส่วนศิลปะการแสดง เป็นเรื่องของการแสดงแนวคิดและความบันเทิงให้กับผู้ชมในปัจจุบัน
คือ ได้ชมภาพ คำพูด แสง ฉาก และการแสดง มิใช่เพียงแค่คำบรรยาย
ศิลปะทุกประเภทเป็นการลอกเลียนแบบส่วน
วรรณกรรมในบทละครเกิดขึ้นจากการเลียนแบบธรรมชาติในรูปแบบการกระทำที่มีความใกล้เคียง
กันกับชีวิตจริงมากที่สุดไม่ใช่การบรรยาย ตัวอย่างเช่น
ชนใดไม่มีดนตรีการ
ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ (เวนิสวาณิช)