ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์>>
ความหมายของประวัติศาสตร์
องค์ประกอบของคำว่า ประวัติศาสตร์
ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
การวิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นของข้อสนเทศที่ให้ในหลักฐานแล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ 12
ประเภท คือ
- จดหมายเหตุชาวต่างชาติ
- จดหมายเหตุชาวพื้นเมือง
- ตำนาน
- พงศาวดารแบบพุทธศาสนา
- พระราชพงศาวดาร
- เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง
- หนังสือเทศน์
- วรรณคดี
- บันทึก
- จดหมายส่วนตัว
- หนังสือพิมพ์
- งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วมีข้อสนเทศตรงกับประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่กล่าวไปแล้วใน 12 ประเภท แต่เนื่องจากมีลักษณะที่พิเศษของตนเอง และครอบงำประวัติศาสตร์ยุคก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ขึ้นไปอย่างมาก จึงจัดให้เป็นหมวดหนึ่งต่างหากออกไป ได้แก่
- จารึก
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
- หลักฐานทางโบราณคดี เช่น หลุมฝังศพ ซากโครงกระดูก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัด
หม้อ ไห ถ้วย ชาม ภาชนะต่างๆ
หลักฐานเหล่านี้ได้ผ่านการตีความหมายของนักโบราณคดีตามหลักวิชาอย่างถูกต้องแล้ว
- หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ สิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และสิ่งแวดล้อมของสังคมที่ให้กำเนิดศิลปกรรมทั้งหลาย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะช่วยกำหนดอายุของเมืองหรืออารยธรรมที่ไม่มีหลักฐานอย่างอื่นบอกไว้
- นาฏกรรมและดนตรี มักเป็นศิลปะที่ได้รับสืบทอดจารีตมาแต่อดีต
- คำบอกเล่า คือ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการจดเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคนเล่า ซึ่งคำบอกเล่านี้มักเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่คนภายในสังคมนั้นมีข้อจำกัดทางการศึกษาจึงใช้การจดจำบอกเล่าสืบต่อกันมา