ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์>>

การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์

ความหมายของประวัติศาสตร์
องค์ประกอบของคำว่า “ประวัติศาสตร์”
ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
การวิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ วิธีการหรือกระบวนการในการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นการประเมินค่าของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทั้งภายในและภายนอกว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงใด และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

การตรวจสอบภายนอกหรือการวิพากษ์หลักฐาน คือ การตรวจสอบลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทลายลักษณ์อักษร เช่น พระราชพงศาวดารในสมัยอยุธยา การตรวจสอบภายนอกก็คือ การตรวจดูว่าเป็นตัวอักษรลักษณะแบบใด เป็นตัวอักษรที่ใช้ในสมัยอยุธยาหรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของการวิพากษ์หลักฐานหรือการวิพากษ์ภายนอกได้ว่า “ คือ การพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยการสังเกตุจากภายนอกเป็นอันดับแรก โดยอาศัยหลักพิจารณาอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ

 

  1. อายุของหลักฐาน
  2. สภาพแวดล้อมที่หลักฐานถูกสร้างขึ้น
  3. ผู้สร้างหลักฐาน
  4. จุดมุ่งหมาย แ
  5. รูปเดิมของหลักฐาน

ส่วนการตรวจสอบภายในหรือการวิพากษ์ข้อสนเทศของพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ก็คือ การศึกษาเนื้อหาในพระราชพงศาวดารทั้งหมดว่าบอกเกี่ยวกับเรื่องอะไร หมายความว่าอย่างไร ตลอดจนถึงศึกษาลึกลงไปว่าผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อหวังสิ่งใด เขียนขึ้นโดยอยู่บนความยุติธรรมหรือไม่ ดังนั้นการตรวจสอบภายในหรือการวิพากษ์ข้อสนเทศจึงหมายถึง การพยายามตีความหลักฐานและประเมินคุณค่าของข้อสนเทศที่ปรากฎอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นๆ นั่นเอง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย