ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์>>

การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์

ความหมายของประวัติศาสตร์
องค์ประกอบของคำว่า “ประวัติศาสตร์”
ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
การวิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

เมื่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้พิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ขั้นตอนการวิพากษ์หลักฐาน การวิพากษ์ข้อสนเทศ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในขั้นต้นและขั้นลึกไปแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางโบราณคดี ศิลปสถาปัตยกรรม ตลอดจนตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ ที่ค้นพบในภาคเหนือของประเทศไทย นักวิชาการได้ศึกษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว แล้วลำดับเรื่องราวของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาคเหนือช่วงสมัยพญามังรายได้ว่า พญามังราย ได้สร้างเมืองเชียงใหม่หรือ “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1839 และได้ขยายอำนาจไปไกลจนถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนให้มาเป็นพลเมืองในเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก หลังรัชกาลของพญามังรายได้มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพญาแสนพู ทรงได้สร้างเมืองเชียงแสนให้เป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจถือว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองของอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้

 

ต่อมาในสมัยของพญาถือนาได้รับพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์(ลังกาวงศ์เก่า) จากเมืองสุโขทัยซึ่งตรงกับสมัยพระยาลิไท มาสืบพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่และทรงโปรดให้สร้างวัดสวนดอกไม้ หรือวัดบุปผารามให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสังฆราช และเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายรามัญวงศ์สืบต่อมา จากการที่นักวิชาการได้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในส่วนที่เป็นเอกสารและสิ่งก่อสร้าง จนสามารถเรียบเรียงเป็นเรื่องราวซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนี้ เรียกว่า “ การสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ” ฉะนั้นการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึง การเอาข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเกี่ยวพันให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นนั่นเอง

แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปเพื่อหาคำตอบที่ว่าทำไมพญามังรายถึงต้องสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หรือทำไมพญาแสนพูต้องเสด็จไปประทับอยู่ที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพนั้น นักวิชาการได้เสนอข้อเท็จจริงไว้ว่าการที่พญามังรายสร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ขึ้น เนื่องจากมีชัยภูมิดีและเป็นการย้ายเมืองใหม่จากเวียงกุมกาม ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากมาไว้ที่แห่งใหม่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และป้องกันข้าศึกได้ดีกว่า และการที่พญาแสนพูต้องเสด็จมาประทับอยู่เมืองเชียงแสน จนทำให้เมืองนี้มีบทบาทเกือบเท่าเมืองเชียงใหม่ นักวิชาการได้เสนอไว้ว่าเป็นเพราะต้องการป้องกันกำลังของพม่าที่มีกำลังพลมากทางเมืองเชียงแสน การเจาะลึกถึงสาเหตุดังกล่าวของนักวิชาการดังได้ยกเป็นตัวอย่างเรียกว่า “การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย