ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ประวัติพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ความหมายของศาสนา
ศาสนสถาน
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
วิปัสสนา
สมาธิ

ศาสนสถาน

ศาสนสถาน ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงเป็นที่รวมองค์ประกอบหลักของศาสนา ทั้งหมดในศาสนสถาน ฐานะ ของศาสนสถานจึงเป็นสมบัติของศาสนา

"วัด" คือ สถานที่ทางศาสนา ตามปกติแล้วจะมีเสนา สนะและอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นที่พำนักอาศัยศึกษา ปฏิบัติ พระธรรมวินัย และประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ สงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ นอกจากนี้วัดยัง เป็นศูนย์กลาง บริการทางการศึกษาและทางสังคม รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วัดทั้ง หลายมีฐานะทางกฎหมาย คือ เป็นนิติบุคคลเท่าเทียม กัน แต่ในทางพระวินัยมีฐานะแตกต่างกัน ดังนั้น ตาม มาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ จำแนกวัดออกเป็น 2 ชนิด คือ สำนักสงฆ์ ...และ...วัดที่ได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

"สำนักสงฆ์" หมายถึงวัดที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัด แล้วแต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่ ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างขึ้นตามความใน มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 และวัด ที่สร้างขึ้นก่อน ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ซึ่งยังไม่ได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ ทางกฏหมายแล้ว

"วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา" หมายถึง... "อาราม" ตามที่ได้เคยบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 เป็นวัด ที่เลื่อนฐานะมาจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เพื่อประโยชน์ แก่สังฆกรรมตามพระธรรม วินัยสำหรับพระสงฆ์ นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยฐานะทั้ง ทางกฏหมายและทางพระธรรมวินัย ทุกประการ

"พระอารามหลวง" หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เป็นการส่วน พระองค์ พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมา หรือ แก่วัดเอง มีอยู่จำนวนหนึ่งที่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใหญ่ ทรงสร้างขึ้น หรือ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง รวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้าง หรือ ปฏิสังขรณ์และทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย