ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ความหมายของศาสนา
ศาสนสถาน
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
วิปัสสนา
สมาธิ
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ในพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ
ซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงปาฏลีบุตรแคว้นมคธในอินเดีย
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจึงโปรดให้ส่งธรรมทูต
อัญเชิญพระพุทธศาสนาจาริกเผยแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ ทั้งในอินเดียและประเทศอื่นๆ
และเชื่อกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
คือแบบที่เรานับถือในปัจจุบัน ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยนั้น
ชาวอินเดียสมัยก่อนพุทธกาลเคยไปมาค้าขายติดต่อกับสุวรรณภูมินี้อยู่เสมอ
ชาวสุวรรณภูมิจึงไม่รังเกียจพระพุทธศาสนาที่ชาวอินเดียนำมาเผยแผ่
ส่วนสุวรรณภูมินี้เข้าใจว่าน่าจะได้แก่บริเวณตั้งแต่ตอนใต้ของพม่าปัจจุบันนี้
(ซึ่งสมัยต่อมา เป็นอาณาจักรมอญ) เลยตลอดลงมาถึงภาคกลางของประเทศไทย
มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐมซึ่ง มีพวกมอญและละว้าเป็นคนพื้นเมือง
เนื่องด้วยบริเวณจังหวัดดังกล่าวปรากฏซากโบราณสถานมากมายล้วน แต่ใหญ่โต
สร้างตามคติเก่าถึงครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก็มี เช่น
พระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิมซึ่งอยู่ภายใน พระสถูปใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ตามรูปเดิมสร้างเป็นทรงโอคว่ำอย่างพระสถูปสัญจิในอินเดีย เป็นหลักฐานว่า
พระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นลง ณ ภาคกลางแห่งประเทศไทย
แล้วเจริญงอกงามพัฒนาตลอดมาและได้พัฒนารุ่ง เรืองแพร่หลายทั่วไปในแหลมอินโดจีน
ยกเว้นดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรนี้ซึ่งเป็นดิน
แดนเวียดนามตอนเหนือ
ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 ทางประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้เจริญขึ้น พุทธมามกะชาว
อินเดียได้นำลัทธิมหายานออกมาสั่งสอนแพร่หลายในคาบสมุทรแห่งนี้
โดยเดินทางมาทางบกผ่านแคว้นแบงกอล เข้ามาทางพม่าตอนเหนือก็มี
เดินทางมาทางทะเลขึ้นที่แหลมมลายู สุมาตรา และแล่นเรืออ้อมอ่าวเข้ามา
ทางประเทศกัมพูชาในปัจจุบันก็มี
ในระหว่างนั้นได้เกิดมีอาณาจักรฟูนันคือบริเวณดินแดนกัมพูชาในปัจจุบันและเลย
เข้ามาในประเทศไทยตอนกลางและถึงภาคอีสานด้วย
ปรากฏว่าประชาชนชาวฟูนันนับถือพระพุทธศาสนาทั้ง ฝ่ายเถรวาทและมหายาน
จนถึงกับมีสมณทูตชาวฟูนันเดินทางไปแปลพระคัมภีร์ในประเทศจีน ถึงศตวรรษที่ 11
อาณาจักรฟูนันก็เสื่อมโทรมไป
ด้วยถูกอาณาจักรเจนละซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นฟูนันมาก่อนแย่งอำนาจ
พวกเจนละนับถือศาสนาพราหมณ์ ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงชะงักความเจริญระยะหนึ่ง
ในยุคพุทธศตวรรษที่ 11 ขณะที่อิทธิพลของฟูนันสั่นคลอนก็ปรากฏว่าพวกมอญในลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาถือโอกาสประกาศอิสรภาพตั้งเป็นอาณาจักรทวาราวดี
แล้วเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วทั้งในด้านศิลปะและการพระศาสนา
โดยรักษาจารีตของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ซึ่งรับมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชไว้อย่างเคร่งครัด
ศูนย์กลางของทวาราวดีก็คงอยู่ที่นครปฐมนั่นเอง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12
ปรากฏว่าอานุภาพ ของทวาราวดีได้ขยับขยายเหนือขึ้นไปจนถึงลพบุรีและได้แผ่ขึ้นไป
จนถึงภาคเหนือของประเทศไทยเป็นเหตุหนึ่
ที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากทวาราวดีได้ไปตั้งมั่นทางภาคเหนือ ตกราวพุทธศตวรรษที่
14 อาณาจักรเจน ละ ได้เปลี่ยนเป็นประเทศเขมรโบราณ
อิทธิพลของเขมรโบราณได้แผ่ครอบงำแทนที่อาณาจักรทวาราวดี
ราวพระพุทธศตวรรษที่ 12
ในสมัยที่อาณาจักรทวาราวดีกำลังรุ่งเรืองอยู่นั้นปรากฏว่าทางภาคใต้ของ
ประเทศไทยได้เกิดอาณาจักรศรีวิชัยขึ้นที่แหลมมลายู
มีอาณาเขตทางเหนือติดกับอาณาจักรทวาราวดี เดิมพล
เมืองในอาณาจักรศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยาน
ต่อมาราชวงศ์ปาละแห่งมคธอินเดียตอนใต้มีอำนาจขึ้น
กษัตริย์ราชวงศ์นี้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานโดยเฉพาะคือนิกายมนตรยาน
ราชวงศ์ไศเลนทระแห่ง อาณาจักรศรีวิชัยซึ่ง ณ
บัดนั้นได้แผ่อำนาจราชศักดิ์ครอบงำทั่วคาบสมุทรทะเลใต้และแหลมมลายูแล้วได้มี
สัมพันธไมตรีกับราชสำนักปาละ จึงพลอยได้รับลัทธิมหายานนิกายมนตรยานเข้ามานับถือด้วย
ลัทธิมหายานได้เป็น
ศาสนาประจำของจักรวรรดิศรีวิชัยซึ่งเป็นจักรวรรดิมลายูตลอดระยะกาลแห่ง พ.ศ.
1200-1700 ปีเศษ
ทาง ตอนเหนือของมลายูที่ในขณะนี้คือนครศรีธรรมราช
ซึ่งมีชื่อเรียกในยุคพุทธศตวรรษที่ 12 ว่าเมืองตามพรลิงค์
เป็นประเทศราชของจักรวรรดิ์ศรีวิชัย นอกจากนี้อาณาจักรศรีวิชัย
ยังเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระปริยัติ ธรรมที่โด่งดัง จนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 15
ตามเรื่องราวที่ปรากฏในตำนานว่าอิทธิพลศรีวิชัยได้ขยายรุกขึ้น
มาถึงประเทศกัมพูชาและบรรดาประเทศราชของเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 2 คราว
เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 13 คราวหนึ่ง และเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 15 อีกคราวหนึ่ง
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ปรากฏว่าน่าจะมีเชื้อสายสืบ มาจากพวกศรีวิชัย
ประเทศกัมพูชาและประเทศไทยจึงได้รับนับถือลัทธิมหายานตามแบบอย่างศรีวิชัยอีกใน
ระยะนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา
ในยุคที่จักรวรรดิเขมรมีอำนาจครอบงำประเทศไทยเราเรียกว่ายุคลพบุรี มีระยะเวลาราว
พ.ศ. 1500- 1800 ปี กษัตริย์เขมรบางพระองค์ก็เป็นพุทธมามกะ
บางพระองค์ก็เป็นพราหมณมามกะ แต่พระพุทธศาสนา ซึ่งแพร่หลายอยู่ในสมัยลพบุรีนี้
ปรากฏว่ามีทั้งลัทธิฝ่ายเถรวาทและลัทธิฝ่ายมหายาน
แต่ลัทธิมหายานนิกายมนตรยานได้เจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งในประเทศกัมพูชาเองและในประเทศไทยตั้งแต่ตอนกลางและอิสานบางส่วนลงไป
สถานที่สำคัญเกี่ยวกับลัทธิมหายานนิกายมนตรยาน เช่น ปราสาทหินพิมาย
และพระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี เป็นต้น
ราวพุทธศตวรรษที่ 16
ชาวไทยได้ตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นขึ้นในลานนาภาคเหนือและพายัพของ
ประเทศไทยปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาที่ชาวไทยในขณะนั้นนับถือเรียกได้ว่านับถือรวม ๆ
กันไปทั้งเถรวาทแบบมอญกับลัทธิมหายานแบบเขมร
แต่อิทธิพลของลัทธิเถรวาทมีสูงกว่าลัทธิมหายานมาก ครั้นตกราวพุทธศตวรรษ ที่ 16
ทางประเทศพม่าพระเจ้าอโนรธาได้เป็นใหญ่ครองพุกาม
ขณะนั้นพวกพม่านับถือลัทธิมหายานนิกาย มนตรยานมากกว่าเถรวาท
รวมทั้งได้เอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาปะปนมาก เมื่อพระเจ้าอโนรธา
ตีได้อาณาจักรมอญซึ่งเป็นอู่ความเจริญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท
ได้ทรงรับเป็นศาสนูปถัมภก ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทให้รุ่งเรืองขึ้น
โดยมีเมืองพุกามเป็นศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นในตอนนี้พม่าจึงเป็นแห่งสำคัญ
ของความพัฒนาแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ซึ่งได้ขยายเข้ามาในประเทศไทยในเวลาต่อมาด้วยดังปรากฏโบราณสถานพระเจดีย์เจ็ดยอดเมืองเชียงใหม่
ซึ่งสร้างถ่ายแบบจากพระเจดีย์มหาโพธิเมืองพุกาม
ประเทศลังกาหรือสิงหลนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทสืบมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช
เหมือนกับทางสุวรรณภูมิ ครั้นตกราวพุทธศตวรรษที่ 17
ลังกาได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยซึ่งนับเป็นหนที่ 7 ใน ตำนานสังคายนาของฝ่ายเถรวาท
กิตติศัพท์แพร่หลายมาถึงประเทศพม่ามีพระสงฆ์จากพุกามและมอญที่บวช
ใหม่กับพระสงฆ์ลังกากลับมาเมืองพุกามและเมืองมอญ
ตั้งเป็นคณะลังกาวงศ์ขึ้นได้รับความนับถือเลื่อมใสจากพระราชาและประชาชนจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้น
พระสงฆ์พวกเก่านับวันก็ค่อย ๆ หมดไปโดยพฤตินัย ครั้งนั้นมี
คณาจารย์ในลังกาวงศ์นี้รูปหนึ่ง
ชื่อพระราหุลเป็นชาวลังกาได้จาริกจากพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมือง
นครศรีธรรมราชซึ่งยังเรียกชื่อว่าเมืองตามพรลิงค์
มีกษัตริย์มลายูเชื้อสายศรีวิชัยปกครองอยู่ คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ ที่เมืองนคร ฯ
ก็เจริญขึ้นเหมือนที่พุกาม เป็นเหตุให้แพร่หลายสู่ประเทศไทยและกัมพูชาในกาลต่อมา
พวกพุกาม ปกครองอาณาจักรทางลานนาอยู่ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ก็หมดอำนาจ
อิทธิพลทั้งมอญและเขมรก็หมดฤทธิ์ลงไปมากแล้ว
มีคนไทยได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง นับตั้งแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
กษัตริย์เขมร องค์สุดท้ายที่มีอำนาจและทรงเป็นมหายานพุทธมามกะที่เคร่งครัดแล้ว
ลัทธิมหายานพร้อมๆ กับอำนาจของ อาณาจักรเขมรก็เสื่อมโทรมลงทันที